การลดความสูญเปล่าในกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็นด้วยแนวคิดลีน ของบริษัท ดี - พัฒนะมงคล จำกัด จังหวัดระยอง

Main Article Content

จักรกฤช ยั่งยืน
ปณัทพร เรืองเชิงชุม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็น เพื่อศึกษาสาเหตุของความสูญเปล่าในกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็น และเพื่อศึกษาการลดความสูญเปล่าในกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็นด้วยแนวคิดลีนของบริษัท ดี-พัฒนะมงคล จำกัด จังหวัดระยอง วิธีการศึกษาเริ่มจากการศึกษาการไหลของกระบวนการ การเขียนแผนผังของกระบวนการ และการเขียนสายธารแห่งคุณค่าของสถานะปัจจุบันของกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็นเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการ หลังจากนั้นทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานที่อยู่ในฝ่ายเชื่อมประกอบรถเข็นเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการด้วยการจำแนกความสูญเปล่า 7 ประการ จากนั้นประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อศึกษาการลดความสูญเปล่าในกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็น ผลการจากการศึกษา พบว่ามีความสูญเปล่าเกิดขึ้นในกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็น (1) ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไปเนื่องจากการตัดเหล็กและเชื่อมอุปกรณ์แต่ละครั้งเพื่อเชื่อมประกอบ ลดความสูญเปล่าโดยลดขนาดการตัดเหล็กและเชื่อมอุปกรณ์ (2) ความสูญเปล่าที่เกิดจากการขนย้ายเนื่องจากการวางเครื่องจักร  แต่ละส่วนไม่เหมาะสมกับการไหลของงานทำให้เสียเวลาในการขนส่ง ลดความสูญเปล่าโดยการจัดแผนผังการผลิตในฝ่ายเชื่อมประกอบให้เหมาะสมกับการทำงาน (3) ความสูญเปล่าที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากการลำดับงานที่ไม่เหมาะสม ลดความสูญเปล่าโดยการจัดทำแผนควบคุมการเชื่อมประกอบรถเข็น ผลจากการลดความสูญเปล่าในกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็นด้วยแนวคิดลีน พบว่ามีเวลานำการผลิต (Lead Time) ดีขึ้น 67.34 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถการไหลของงานดีขึ้น ซึ่งเพิ่มจำนวนรถเข็นที่ผลิตเสร็จต่อวันได้ 28.75 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการทำงานในกระบวนการเชื่อมประกอบรถเข็นเพิ่มขึ้น 28.89 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ระยะทางในการเคลื่อนที่ทำงานของพนักงานลดลง 57.73 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้บริษัทมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เพราะต้นทุนลดลงจากการกำจัดและควบคุมความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต


 

Article Details

บท
Research article