ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและการหลบหลีกภาษีเงินได้นิติบุคคลของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET 100 Index

Main Article Content

บดินทร์ มหาวงศ์
ไพบูลย์ ผจงวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและการหลบหลีกภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET 100 Index มีจำนวนบริษัทที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 50 บริษัท วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลงบการเงินของบริษัทจากฐานข้อมูล SETSMART แบบ 56-1 และรายงานประจำปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึง พ.ศ. 2558 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐานและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้เทคนิคการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าอัตราภาษีที่แท้จริง (Effective tax rates) มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราภาษีที่บริษัทควรจะจ่ายให้กับภาครัฐซึ่งชี้ให้เห็นว่าบริษัทมีการหลบหลีกภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อให้เสียภาษีให้น้อยที่สุด นอกจากนั้นยังพบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมกับการหลบหลีกภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราผลตอบแทนต่อยอดขาย และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ในมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ มูลค่าเพิ่มทางการตลาด และ Tobin’s Q


ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้บริษัทจดทะเบียนควรให้ความสำคัญกับการเสียภาษีให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง อีกทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีควรให้ความสนใจและตระหนักถึงเจตนารมณ์ในการจัดเก็บภาษี เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ทุกฝ่ายและเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของภาษีอากร

Article Details

บท
Research article

References

กำหนด โสภณวสุ. 2551. การหนีภาษี กับ การเลี่ยงภาษี. (Online) http://oknation.nationtv.tv/blog/ThaiLawFirm/2008/08/12/entry-1,5 กุมภาพันธ์ 2560.

คณะกรรมการกำกับการดำเนินโครงการศึกษาและพัฒนาประมวลรัษฎากร. 2559. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บและการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร. (Online) http://www.rd.go.th/fileadmin/download/PramualProj/cont10.html,5 กุมภาพันธ์ 2560.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. 2551. วิเคราะห์ เจาะลึก อัตราส่วนทางการเงิน. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2558. รายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี SET 50 และ SET 100. (Online) http://www.set.or.th/th/market/constituents.html,19 มกราคม 2560.

นพวรรณ สิมมา. 2557. การวัดผลการดำเนินงานทางการเงินและการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมอาหาร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประภัสสร แสงสีทอง. 2551. ความรู้และความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่องการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี, มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์.

ภคินี เจษฏจรัสพงศ์. 2552. การวัดผลการดำเนินงานโดยมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ กรณีศึกษา : บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด(มหาชน). การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนภัทร์ อาษากิจ. 2550. การวัดผลการดําเนินงานด้วยมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ อัตราส่วนทางการเงิน และ มูลค่าตลาดส่วนเพิ่ม กรณีศึกษา ธนาคารพาณิชย์ไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนวิกา ผดุงสิทธิ์. 2548. "การประเมินผลการปฎิบัติงานตามแนวคิด Tobin-Tobin's Q." วารสารบริหารธุรกิจ 106 (28): 13-22.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. 2548. มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ มิติใหม่ของการสร้างมูลค่ากิจการและการสร้างระบบผลตอบแทนพนักงาน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ เพรส.

ศศิกานต์ จัตุปา. 2557. "การบริหารจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากร." วารสารนักบริหาร 34 (1): 40-50 .

สมศักดิ์ ประถมศรีเมฆ, กรวิภา เทียนภาสกร, จัญจลา ศิวะมาศ และ ขวัญนุช เจริญวัฒนวิญญู 2556. "ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง กรณีศึกษาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย." วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. (Online). http://www.bbs.buu.ac.th/uploadedFiles/articles/1482724379.pdf, 5 กุมภาพันธ์, 2560.

สัตยา ตันจันทร์พงศ์. 2558. "การกำกับดูแลกิจการที่ดีมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานผ่านการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย." Journal of the Association of Researchers 20 (2): 105-113.

สุเทพ พงษ์พิทักษ์. 2541. การวางแผนภาษีอากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานวิชิตา ทนายความ บัญชีและธุรกิจ.

เสาวลักษณ์ กาญจนะ. 2550. เบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์. 2547. ปัญหาการรับรู้รายได้เพื่อจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรอุมา พรกิจการุณย์. 2552. การศึกษามูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและมูลค่าเพิ่มทางการตลาด กรณีศึกษา บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด(มหาชน). เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Baik, B., W. Choi, S. H. Jung, and R. Morton. 2013. Pre-tax Income Forecasts and Tax Avoidance. (Online) https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2224154, January 20, 2017.

Chen, S., X. Chen, Q. Cheng, and T. Shevlin. 2010. “Are family firms more tax aggressive than non-family firms?” Journal of Financial Economics 95 (1): 41-61.