ผลกระทบของกลยุทธ์การบริหารแฟรนไชส์ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของ ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของกลยุทธ์การบริหารแฟรนไชส์ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย จำนวน 115 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารแฟรนไชส์ ด้านการกำหนดค่าสิทธิ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กรโดยรวม ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้ และพัฒนา 2) กลยุทธ์การบริหารแฟรนไชส์ ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบในทิศทางตรงกันข้ามกับความสำเร็จขององค์กรโดยรวม ด้านการเงิน ด้านลูกค้า และด้านการเรียนรู้และพัฒนา 3) กลยุทธ์การบริหารแฟรนไชส์ ด้านการคัดเลือกและให้สิทธิแฟรนไชส์มีความสัมพันธ์และผลกระทบในทิศทางตรงกันข้ามกับความสำเร็จขององค์กรโดยรวม ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ดังนั้น ผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารแฟรนไชส์ในด้านการกำหนดค่าสิทธิ ควรมุ่งเน้นการเก็บค่าสิทธิโดยพิจารณาเรื่องต้นทุนและผลตอบแทน เพื่อให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน และประสบความสำเร็จตามที่ตั้งไว้
Article Details
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
คัทลียา ณ รุณ. (2557). ผลกระทบของมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีต่อคุณภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีใน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจ้าหน้าที่ชำนาญการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย บริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการองค์กร ธนาคาร
ทหารไทย จำกัด (มหาชน). (2559). วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 10 (13), 1.
ดุษฏี สีมาขจร. (2553). กลยุทธ์ความสำเร็จของธุรกิจ แฟรนไชส์กาแฟสดของไทย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์. (2560). สถิติธุรกิจแฟรนไชส์ไทย. ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2560, จาก http://www.thaifranchisecenter.com/stats/franchise_stats.php.
พสุ เดชะรินทร์. (2551). รู้สึกในทางปฏิบัติ Balanced Scorecar. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์. (2557). แฟรนไชส์ ยุทธการโคลนนิ่งธุรกิจ Franchise Cloning Business. บริษัท แฟรนเน็กช์ จำกัด.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). อาหารไทยเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ...โอกาสธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในซัพพลายเชน (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2785). ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559, จากhttps://www.kasikornresearch.com/TH/KEconAnalysis/Pages/ViewSummary.aspx?docid=3593.
อาทิตย์ ศรี. (2556). ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้จากค่าสิทธิในสัญญาแฟรนไชส์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aaker, D. A., V. (2001). Kumar and G.S. Day. Marketing Research. New York : John Wiley & Son.
Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. USA : John Wiley & Son.
Nunnally, J. C. and I. H. (1978). Bernstein. Psychometric Theory. New York : McGraw – Hill.