การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา หลักทรัพย์หมวดธุรกิจธนาคาร ก่อน-หลัง เดือนกันยายน 2561

Main Article Content

วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน
กาญจน์เกล้า พลเคน
เกษม เปนาละวัด
วนัสนันท์ งวดชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทน ตลอดจนความแตกต่างของผลตอบแทน
ของหลักทรัพย์หมวดธุรกิจธนาคารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ช่วงก่อน-หลัง เดือนกันยายน 2561
ทำการศึกษาหุ้นสามัญในหมวดธุรกิจธนาคาร จำนวน 11 หลักทรัพย์ โดยใช้ข้อมูลราคาปิดรายวันของ
หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม
พ.ศ. 2561 ระยะเวลาในการศึกษา 60 วัน
ผลการศึกษาพบว่า อัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์หมวดธุรกิจธนาคาร ช่วงก่อน-หลัง 13 กันยายน 2561
ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าการวิเคราะห์ช่วงที่ 1 หลักทรัพย์ที่มี
ผลตอบแทนสูงสุด คือ หลักทรัพย์ TISCO และหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนต่ำสุด คือ หลักทรัพย์ TMB
อีกทั้งยังพบว่า หลักทรัพย์ที่ค่า β มีค่าลบ จำนวน 1 หลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ที่ค่า β มีค่าบวก มีค่าระหว่าง
0 ถึง 1 (0 ≤ β ≤ 1) จำนวน 6 หลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ที่ค่า β มากกว่า 1 (β > 1) จำนวน 4 หลักทรัพย์
เมื่อประเมินการตัดสินใจลงทุน พบว่า หลักทรัพย์ที่ค่า α > 0 จำนวน 5 หลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่ค่า
α < 0 จำนวน 6 หลักทรัพย์
ช่วงที่ 2 หลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูงสุด คือ หลักทรัพย์ TMB และหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนต่ำสุด
คือ หลักทรัพย์ SCB นอกจากนี้พบว่า หลักทรัพย์ที่ค่า β มีค่าลบ จำนวน 2 หลักทรัพย์ และหลักทรัพย์
ที่ค่า β มีค่าบวก มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 (0 ≤ β ≤ 1) จำนวน 8 หลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ที่ค่ามากกว่า 1
(β > 1) จำนวน 1 หลักทรัพย์เมื่อประเมินการตัดสินใจลงทุน หลักทรัพย์ที่ค่า α > 0 จำนวน 5 หลักทรัพย์
และหลักทรัพย์ที่ค่า α < 0 จำนวน 6 หลักทรัพย์

Article Details

บท
Research article