การสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ตราสินค้า และส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าออนไลน์

Main Article Content

ณัฐพงศ์ เจริญดีทรัพย์สิริ
ศิริรัตน์ โกศการิกา
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์

บทคัดย่อ

         การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการสร้างการรับรู้ตราสินค้าประเภทเสื้อผ้าและศึกษาการรับรู้ในตราสินค้าประเภทเสื้อผ้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลผู้ที่เคยมีประวัติการซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ภายใน 1 ปี จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านการทดสอบสมการโครงสร้างแบบจำลอง (SEM) ซึ่งผลที่ได้คือผ่านเกณฑ์ทุกดัชนี


            ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารทางการตลาดด้วยสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อการรับรู้ตราสินค้าประเภทเสื้อผ้าทั้ง 4 ตัวแปร ได้แก่ เว็บไซต์ การค้นหาโฆษณา การแสดงโฆษณา และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีค่า 0.87, 0.73, 0.89 และ 0.59 ตามลำดับ อีกทั้งการรับรู้ตราสินค้าประเภทเสื้อผ้าก็ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อในทุกขั้นตอนของกระบวนการ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ การรับรู้ปัญหา การค้นหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมหลังการซื้อ โดยมีค่า 0.88, 0.95, 0.80, 0.85 และ 0.80 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อผู้บริโภคมากที่สุด คือการค้นหาโฆษณา ปัจจัยด้านการรับรู้ตราสินค้าที่ส่งผลต่อผู้บริโภคมากที่สุด คือการจดจำตราสินค้า และปัจจัยด้านกระบวนการตัดสินใจซื้อที่มีผลต่อผู้บริโภคมากที่สุด คือการประเมินทางเลือก

Article Details

บท
Research article

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วีพริ้น (1991).

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2543). กลยุทธ์สื่อสารการตลาด = IMC & marketing communication. กรุงเทพมหานคร:บริษัท ทิปปิ้ง พอยท์ จำกัด.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เชษฐา ต้อยเหม. (2559). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีต่อพฤติกรรมการชมภาพยนตร์ไทยของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานครฯ.

ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา. (2562). พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย 2562. ค้นจาก https://www.twfdigital.com

ธงชัย สันติวงษ์. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ประชุมช่าง.

ธารินี สมจรรยา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายผ่านช่องทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

ธัญรัตน์ รัตนกุล. (2558). การสื่อสารทางการตลาดและการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในยี่ห้อวาโก้ของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2551). การสื่อสารการตลาด. นนทบุรี:สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2545). IMC in Action. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทิปปิ้ง พอยท์ จำกัด.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์.

พนิดา สุขุมจริยพงศ์. (2556). การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำของประชาชนในกรุงเทพมหานคร : เปรียบเทียบระหว่างตราของไทยกับตราของสหรัฐอเมริกา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ภิญญา ลีฬหบุญเอี่ยม. (2550). แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซนจูรี่ จำกัด.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-Commerce และ Online Marketing. กรุงเทพฯ:พิมพ์ดี.

รณรงค์ แสงมงคล. (2559). ความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : เทสโก้ โลตัส ช้อป ออนไลน์. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 10(12), 47-53.