ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ประเภทศูนย์การค้าในประเทศไทย

Main Article Content

ศิวะพร ประชุมชน
อภิชาติ พงศ์สุพัฒน์

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ประเภทศูนย์การค้าในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลอง Panel Data ซึ่งจะเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายเดือน ณ ช่วงเวลาสิ้นเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2562 จำนวน 60 เดือน และมีจำนวนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ประเภทศูนย์การค้าในประเทศไทย จำนวน 6 กองทุน ซึ่งในการวิเคราะห์ผลการศึกษาจะใช้วิธีการทดสอบความเหมาะสมของแบบจำลองด้วยวิธี Hausman Test โดยผลการศึกษาพบว่า การศึกษาด้วยแบบจำลอง Random Effect จะมีความเหมาะสมมากกว่าแบบจำลอง Fixed Effect นอกจากนี้ปัจจัยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งประเทศ และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าในประเทศไทย ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ในขณะที่ปัจจัยค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และปัจจัยความต้องการขยายพื้นที่ค้าปลีกไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ    

Article Details

บท
Research article

References

จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2540). การลงทุน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ลงทุนมั่นใจ ต้องเข้าใจปัจจัยพื้นฐาน. ค้นจาก https://www.set.or.th/education/th/pro/pro-fundamental.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). กองทุนรวมคืออะไร. ค้นจาก https://www.set.or.th/education/th/begin/mutualfund_content01.pdf

ทักษ์ดนัย จะมะลี และ อภิญญา วนเศรษฐ. (2561). การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในดัชนี SET50. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(17), 23-38.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). มูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั่วประเทศ. ค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=899&language=TH

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). เครื่องชี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. ค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/DownloadFile.aspx?file=EC_EI_009_TH.pdf

นัชทนันท์ หลีกภัย. (2557). อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปารณีย์ ทิพย์สุขวัฒนา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้ : กรณีศึกษากองทุนรวม ตลาดเงินในเครือของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดกลางในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

ประภาพรรณ แก้วพิทักษ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงแรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

พัชรา กลิ่นชุ่มชื่น. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม พื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. ค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Real-Estate/Commercial-Buildings-in-BMR/IO/io-retail-space-bmr

พัชรินทร์ ติรนภาพัฒน์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับอัตราส่วนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อราคาตลาดและสัดส่วนการลงทุนของกองทุน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พัฒน์ พัฒนรังสรรค์. (2556). คู่มือการใช้โปรแกรม E-Views. ชลบุรี:คณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน, กาญจน์เกล้า พลเคน, เกษม เปนาละวัด, และวนัสนันท์ งวดชัย. (2562). การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกรณีศึกษา หลักทรัพย์หมวดธุรกิจธนาคาร ก่อน-หลัง เดือนกันยายน 2561. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 13(19), 19-28.

วรวุฒิ อุ่นใจ. (2562). บทสรุปค้าปลีกไทย ’61 พร้อมจับตาสถานการณ์ค้าปลีกไทย ’62 “ซึม – ทรง – เสี่ยง”. ค้นจาก https://www.marketingoops.com/reports/industryinsight/thai-retail-industry-2018-2019

ศิวรักษ์ แสงวีระศิร. (2558). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์รายกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ศุภลักษณ์ บุญเฉลิม. (2553). การศึกษาอัตราผลตอบแทน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) แบบระบุเฉพาะเจาะจง ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2553). หลักสูตรวางแผนการเงิน ชุดวิชาที่2 การวางแผนการลงทุน.กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). กองทุนรวมและหน่วยลงทุน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). มูลค่ารายรับสถานประกอบการค้าปลีก. ค้นจาก http://statv2.nic.go.th/Trade%20and%20price/14010102_03.php

สิริชัย พึ่งวัฒนาพงศ์. (2553). ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุจิตตา พึ่งแรง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์หมวดพาณิชย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

อภิชญา ไชยสว่าง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Markowitz, H. (1952). Portfolio Selection. The Journal of Finance, 7(01). 77-91. doi: 10.2307/2975974

Morningstar. (2020). Mutual Fund Average Return. Retrieved from https://www.morningstarthailand.com/mobile/Article.aspx?Site=th&articleid=200629

Rehman, A. (2016). Factors Affecting Mutual Fund Performance In Pakistan: Evidence From Open Ended Mutual Funds. Abasyn Journal of Social Sciences, 9(2), 211-220.

Setiawan, C., & Wati, N. P. K. (2019). Factors Affecting the Performance of Sharia Equity Funds in Indonesia. Iranian Journal of Management Studies (IJMS), 12(4), 481-509. doi: 10.22059/ijms.2019.263411.673253