ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการกำกับดูแลกิจการ องค์ประกอบเกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัทและโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัว กับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ องค์ประกอบเกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัท และโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัว กับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับการวางแผนภาษี ในงานวิจัยฉบับนี้วัดค่าด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง (Effective Tax Rate: ETR) อัตราส่วนทางภาษีต่อกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) และอัตราส่วนภาษีต่อสินทรัพย์รวม (TAX/ASSETS) โดยศึกษาในช่วงเวลาปี 2563 จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 325 บริษัทด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการวิจัยพบว่าคะแนนการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย ETR และTAX/CFO ขนาดของคณะกรรมการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย TAX/ASSETS ความเสี่ยงทางการเงินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย ETR ความสามารถในการทำกำไรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย TAX/CFO และ TAX/ASSETS และขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย ETR และ TAX/ASSETS
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กันญภรณ์ เต็มบุญประเสริฐสุข. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อการวางแผนภาษี กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ในกลุ่ม Top 100. วารสารวิชาชีพบัญชี, 17(54), 52-67.
เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย, อนุวัฒน์ ภักดี และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2562). ผลกระทบของคะแนนการกำกับดูแลกิจการและคุณลักษณะคณะกรรมการบริษัทต่อความทันเวลาของงบการเงิน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 15(48), 5-30.
จันทรา ศรีหิรัญพัลลภ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของคณะกรรมการและอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100.ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฐิตาวรรณ เจริญวิจิตรศิลป์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของข้อมูลทางการเงินและโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัวของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐนพร สุพิชยา, วศินี ธรรมศิริ, กฤติยา ดาบเพชร และฐิติพร สงวนพันธุ์. (2561). สัดส่วนของคณะกรรมการต่างชาติกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2, 616-630.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). วางแผนภาษี. ค้นจาก https://www.set.or.th/education/th/start/start_start_3_7.pdf
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). การสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน CORPORATE GOVERNANCE REPORT OF THAI LISTED COMPANIEG (CGR). ค้นจาก https://www.setsustainability.com/page/cgr-corporate-governance-report
ธกานต์ ชาติวงค์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการตกแต่งกำไร. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(37), 45-52.
ธัญพร ตันติยวรงค์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนภาษีและความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่าของกิจการ: หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
น้ำทิพย์ ขำต้นวงษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ กับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาลิดา จันแดง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ปิยะณัฐ ถุนพุทธดม และสุรีย์ โบษกรนัฏ. (2561). ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อการบริหารกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, พิเศษ, 104-119.
วรรณรัตน์ ปณิธานธรรม และดลกณิศ เต็งอำนวย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับต้นทุนเงินทุนของส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 10(13), 27-39.
ศศิธร จุ้ยยิ้ม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมเดช โรจน์คุรีเสถียร. สุดยอดกลยุทธ์การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ เพรส, 2562.
สัจจวัฒน์ จันทร์หอม และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2555) คุณภาพกำไรของบริษัทครอบครัวไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 8(21), 78-88.
สัจจวัฒน์ จันทร์หอม. (2554). คุณภาพกำไรของบริษัทที่มีโครงสร้างการถือหุ้นและบริหารงานโดยครอบครัว. ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2557). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 10(28), 5-18.
สัตยา ตันจันทร์พงศ์ และรัชนียา บังเมฆ (2560). อิทธิพลของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ และโครงสร้างการถือหุ้นที่มีผลต่อการวางแผนภาษี: หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(37), 29-44.
สุชาดา ศรีสกลกิจ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (2561). การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน. ค้นจาก
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560. ค้นจาก https://www.sec.or.th/cgthailand/th/pages/cgcode/cgcodeintroduction.aspx
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนากิจการเพื่อความยั่งยืน. ค้นจาก https://www.sec.or.th/cgthailand/th/pages/overview/cgandsustainablebusinessdevelopment.aspx#4
Bala, H., & Kumai, G. B. (2015). Board Characteristics and Earnings Management of Listed Food and Bevearges Firms in Nigria. European Journal of Accounting, Auditing and Finance Research, 3(8), 25-41.
Carter, D. A., D’Souza, F., Simkins, B. J., & Simpson, W.G. (2010). The gender and ethnic diversity of US boards and board committees and firm financial performance, Corporate Governance: An International Review, 18(5), 396– 414.
Carter, D. A., Simkins, B. J., & Simpson, W. G. (2003). Corporate governance, board diversity, and firm value. Financial Review, 38, 33-53.
Hoffman, W. H. (1961). The theory of tax planning. The Accounting Review, 36(2), 274 – 281.
Holderness, C. G. (2003). A survey of blockholders and corporate control. Economic Policy Review, Federal Reserve Bank of New York, Policy Review, 9(1), 51 - 64.
Jensen, M., & Mecking, W. (1976). Theory of the firm: Managerial behavior, agency costs, and ownership structure. Retrieved from
https://www.sfu.ca/~wainwrig/Econ400/jensen-meckling.pdf
Leech, D., & Leahy, J. (1991). Ownership structure, control type classifications and the performance of large British Companies. Economic Journal, P.1418-1437.
Masulis, R. W., Wang, C., & Xie, F. (2011). “Globalizing the Boardroom - The Effects of Foreign Directors on Corporate Governance and Firm Performance.” Journal of Financial Economics, 53, no.3 (2011): 527-554.
Miller, D., Le Breton-Miller, I., Lester, R. H., & Cannella Jr, A. A. (2007). Are family firms really superior performers?. Journal of Corporate Finance, 13(5), 829-858.
OECD. (2015). G20/OECD Principles of Corporate Governance. Retrieved from
https://www.oecd.org/daf/ca/Corporate-Governance-Principles-ENG.pdf
Omoye, A. S., & Eriki, P. O. (2014). Corporate Governance Determinants of Earnings Management: Evidence from Nigerian Quoted Companies. Mediterranean Journal of Social Sciences, 5(23), 553-564.
Rego, S.O. (2003). Tax-Avoidance Activities of US Multinational Corporations*.Contemporary Accounting Research, 20(4), 805-833.
Richardson, G., & Lanis, R. (2007). Determinants of the variability in corporate effective tax rates and tax reform: Evidence from Australia. Journal of Accounting and Public Policy, 26(6), 689–704.
Rose, C. (2007). Does female board representation influence firm performance? The Danish evidence, Corporate Governance, 15(2), 404– 413.
Smart SME. (2559). ความแตกต่างระหว่างการหนีภาษี VS การหลบหลีกภาษี. ค้นจาก
https://www.smartsme.co.th/content/39368
Zimmerman, J. (1983). Taxes and firm size. Journal of Accounting and Economics, 5(2), 119–149.