“จะ”: อนาคต ความตั้งใจ และการคาดคะเน

Main Article Content

คเชนทร์ ตัญศิริ

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำว่า “จะ” ในภาษาไทยโดยใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาขนาดใหญ่  ผลการวิจัยพบว่า คำว่า “จะ” สามารถแสดงความหมาย 3 ความหมายหลัก ได้แก่ 1) ความหมายเชิงเวลา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ความหมายย่อย ได้แก่ ก) ความหมายการณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ประเภทคาดหวัง (prospective aspect) และ ข) ความหมายเวลาอนาคต (futurity) 2) ความหมายความตั้งใจ และ 3) ความหมายทัศนภาวะการคาดคะเนความเป็นไปได้  ความหมายหลักทั้ง 3 ความหมายนี้เป็นแง่มุมความหมาย (semantic facet) ของความหมายใหญ่ เหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง (irrealis) แง่มุมความหมายทั้งสามนี้มักจะปรากฏร่วมกันและเป็นไปได้ยากที่จะแยกขาดออกจากกันอย่างชัดเจน  อย่างไรก็ตาม แง่มุมความหมายทั้งสามนี้อาจจะมีความเด่น (salience) ไม่เท่ากัน เมื่อคำว่า “จะ” ปรากฏในบริบททางวากยสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน

Article Details

Section
Articles