ความต้องการสารสนเทศของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • Thidarat Saraphon สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความต้องการสารสนเทศ, สารสนเทศผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสารสนเทศของผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีประชากรเป็นผู้สูงอายุในโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมะอึ จำนวน 55 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์โดยใช้เทคนิคการอ้างอิงแบบต่อเนื่องปากต่อปาก (Snowball sampling technique) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 14 คน ที่สามารถตอบข้อคำถามงานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการอ่าน การรับรู้ทางการฟัง และการมองเห็นไม่ชัดเจนของผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง เนื้อหาประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม การรับรู้สารสนเทศของผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และความต้องการสารสนเทศของผู้สูงอายุ ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุสามารถรับรู้สารสนเทศได้จากการฟัง มีคุณภาพชีวิตชีวิตด้านที่อยู่อาศัย และ มีความต้องการสารสนเทศด้านเนื้อหาสารสนเทศ คือ คุณภาพชีวิต ที่เกี่ยวกับความต้องการเรื่องการดูแลสุขภาพในแต่ละโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงมากที่สุด ด้านเนื้อหาของสารสนเทศที่สำคัญ คือ เรื่องการศึกษา การเรียนรู้ที่จัดให้กับผู้สูงอายุ ด้านรูปแบบของสารสนเทศ คือ สื่อโสตวัสดุ เช่น รายการวิทยุ เสียงตามสาย ด้านแหล่งสารสนเทศ คือ มีบุคลากรเฉพาะประสานงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และ ด้านอื่น ๆ คือ มีการจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

Author Biography

Thidarat Saraphon, สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

thida

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยตามแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ พ.ศ. 2545-2559. กรุงเทพมหานคร : กรมกิจการผู้สูงอายุ.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
เกษศรินทร์ ใจแก้ว. (2557). ความต้องการสารสนเทศของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของรัฐในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ.
เนติยา แจ่มทิม และ สินีพร ยืนยง. (2560). การใช้สื่อออนไลน์ และการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์ของผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น
พรชิตา อุปถัมภ์. (2559). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารปาริชาต, 29(2), 71-87.
รัตนา แสงสว่าง. (2552). การจัดการความรู้ห้องสมุดชุมชนเคลื่อนที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลมะอึ. (2560). โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเทศบาลตำบลมะอึ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557).การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550).ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สามลดา.
Case, D. O. (2002). Looking for information: A survey of research on information seeking, needs, and behavior. San Diego, Cali : Academic Press.
Fidel, R. (2012). Human information interaction: An ecological approach to information behavior. Cambridge, Mass : The MIT Press.
Hirakawa, Y., Kuzuya, M., Enoki, H., & Uemura, K. (2011). Information needs and sources of family caregivers of home elderly patients. Archives of Gerontology and Geriatrics, 52, 202-205.
Nicholas, D. (2005). Assessing information needs: Tools, techniques and concepts for the internet age (2nd ed.). London : Aslib.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07