ภูมิปัญญาด้านการบำบัดรักษาโรคของหมอยาพื้นบ้านในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Thipwari Songnok มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นนทิยา จันทร์เนตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาการรักษาโรค, หมอพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการบำบัดรักษาโรคของหมอพื้นบ้านในจังหวัดนครราชสีมา ศึกษาวิเคราะห์วิธีการรักษาและผลการบำบัดรักษาโรคของหมอพื้นบ้านที่ยังคงอยู่ในสภาวะปัจจุบัน และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการรักษาบำบัดโรคของหมอพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว มีลักษณะเป็นแบบมีโครงสร้าง ได้แก่ การสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบำบัดรักษาโรค และสัมภาษณ์ผู้ที่มารักษากับหมอยาพื้นบ้าน และแบบไม่มีโครงสร้าง ได้แก่ การบำบัดรักษาโรคของหมดยาพื้นบ้าน ด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ด้านการบำบัดรักษาโรคของหมอพื้นบ้าน ได้แก่ การเรียนวิชาจากบรรพบุรุษ ครูหมอพื้นบ้านที่ไม่ใช่เครือญาติ พระ และฆราวาส มีการคัดเลือกการสืบทอดจากสายเลือด หรือผู้ที่มีความสนใจและรักในการบำบัดรักษาโรค ขยัน อดทนในการท่องจำคาถาและมีคุณธรรม วิธีการรักษาโดยการใช้สมุนไพรเป็นส่วนใหญ่ในการบำบัดรักษาด้วยการนวดพื้นบ้าน การรักษากระดูกด้วยน้ำมัน และ การเผยแพร่องค์ความรู้ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยการจัดเวทีเสวนา และมอบเกียรติบัตรเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับหมอยาพื้นบ้านที่ยังมีบทบาทในการช่วยเหลือคนในชุมชนจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ หมอนวดจับเส้น 2 คน หมอนวดน้ำมันมะพร้าว 1 คน และ หมอสมุนไพร 3 คน

References

ธรณัส ทองชูช่วย. (2557). ภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในด้านการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค ของอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา.
บัวทอง จูมพระบุตร. (2554). วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้านไทยอีสานและลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (กลุ่มสาธารณสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์.
ประภากร แก้ววรรณา. (2554). ตำราการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พระสุริยา มาตย์คำ. (2552). การพัฒนากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการแพทย์แผนไทย. หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัชนี จันทร์เกษ ประพจน์ เภตรากาศ และ วิชัย จันทร์กิติวัฒน์. (2553). สถานการณ์หมอยาพื้นบ้านในส่วนภูมิภาคในประเทศไทย.รายงานสถานการณ์ : การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ประจำปี พ.ศ. 2550-2552. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ สำนักวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
วิชัย โชควิวัฒน์. (2551). การพัฒนากำลังคนภูมิปัญญาไทสุขภาพวีถีไท. นนทบุรี : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา. (2549). ปูมเมืองโคราช บันทึกคำบอกเล่า จากภูมิปัญญาท้องถิ่น. นครราชสีมา : สมบูรณ์การพิมพ์.
โอภาส ชามะรัตน์. (2545). ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านกับการใช้สมุนไพรบำบัดรักษาความเจ็บป่วย: กรณีศึกษานายแวว วงศ์คำโสม บ้านโคนผง ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฏเลย, เลย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07