ภาพลักษณ์หมู่บ้านท่องเที่ยวผ้าไหมในการรับรู้ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์, หมู่บ้านท่องเที่ยวผ้าไหม, ผ้าไหม, นักท่องเที่ยว, ภาพลักษณ์หมู่บ้านท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา 2) สำรวจภาพลักษณ์หมู่บ้านท่องเที่ยวผ้าไหมในการรับรู้ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา และ 3) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับภาพลักษณ์หมู่บ้านท่องเที่ยวผ้าไหมของนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมาปี 2559 จำนวน 2,191,248 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเปิดตารางสำเร็จรูปทาโรยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามที่มีลักษณะปลายปิดและปลายเปิดที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อด้วย อินเทอร์เน็ตมากที่สุด (42.75%) ตามมาด้วยโทรทัศน์ (35.00%) และ สื่อกลางแจ้ง (33.25) สถานที่ที่เปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ท่องเที่ยวมากที่สุด อาทิ โบรชัวร์ ใบปลิวท่องเที่ยว คือ ห้างสรรพสินค้า ตามด้วยโรงแรม ร้านอาหาร และปั๊มน้ำมัน 2) การรับรู้ภาพลักษณ์หมู่บ้านท่องเที่ยวผ้าไหมของนักท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านทรัพยากรท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.97 รองลงมา คือ ด้านความพร้อมทางการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 3) การเปรียบเทียบลักษณะประชากรกับภาพลักษณ์หมู่บ้านท่องเที่ยวผ้าไหมอันพึงประสงค์ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ในภาพรวมตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อภาพลักษณ์หมู่บ้านท่องเที่ยวผ้าไหมอันพึงประสงค์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
Caeho, G. (2016). Tourism Image, Service Quality Image and Tourism Value Affecting Sustainable Tourism Attitudes : Case Study of Natural based Tourism of Thai Working Age Tourists in Bangkok. The thesis in a part of the Master of Business Administration Curriculum Bangkok University, Bankkok.
Inthasung, C., & Others. (2011). The Perception, Information and Tourism Behavior of the Tourists. Tourism Authority of Thailand. Nakhon Ratchasima Provincial Tourism Office.
Kemapatapan, S. (2015). Media Expose and Thailand’s Tourism Image Perception of Chinese Tourism. Master of Arts Program in Corporate Communication Management Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University, Bangkok.
Khongthon, N. & Thophol, J. (2010). Media Exposure of the Tourists to Intergrated Marketing Communication for Business Entrepreneurs in Nakhon Ratchasima Province. Nakhon Ratchasima : Thailand Research Fund.
Limphiroj, R., & Pinkaew, G. (2015). The Effect of Cultural Tourism Image and Tourists Satisfaction on their Revisit Intention at Pranakorn Sriauythaya province. The 6th International Conference, Humanities and Social Science, Bangkok University.
Nakhon Ratchasima Provincial Tourism and Sports Office. (2016). Annual Report of Nakhon Ratchasima Provincial Tourism and Sports Office in 2016. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Provincial Office.
Nattaphongrit, A., & Cheuyjunya, P. (2016). Lifestyle, Perception online travel information, Credibility and Behavior of Decision Making for Travel Aboard. The international Conference 2016. Faculty of Communication Arts and Management Innovation, National Institute of Development Administration.
Sangaphol, N., & Thanpan, P. (2010). Media Exposure on Tourism Promotion in 2008 by Tourism Authority of Thailand and Thailand Visit Decision of Working People in Bangkok. Phitsanuloke : Individual Study. Master of Arts in Hotel Management and Tourism. Naraesuan University, Phitsanulok.
Thongdee, N. (2012). “Interview on Title “Silk Village Tourism”. June 30, 2012. Lecturer of Tourism and Hotel Program. Management Science. Nakhon Ratchasima Rajabhat University by Assoc.Prof.Netchanok Buanak.