การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนของผู้ประกอบการลานเทปาล์มน้ำมัน : กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
ต้นทุน, ผลตอบแทน, ลานเทปาล์มน้ำมัน, จังหวัดสุราษฎร์ธานีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของผู้ประกอบการลานเทปาล์มน้ำมัน ประเภทธุรกิจเจ้าของคนเดียวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ประกอบการลานเทปาล์มน้ำมัน จำนวน 243 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการลานเทปาล์มน้ำมัน มีต้นทุนในลานเทปาล์มทั้งหมด จำนวน 5,687,712.96 บาท โดยแบ่งออกเป็นต้นทุนคงที่ จำนวน 3,638,974.25 บาท และเป็นต้นทุนผันแปร จำนวน 2,048,738.71 บาท มีผลตอบแทนจากการซื้อขาย 1,051,200.00 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 0.2 บาทต่อกิโลกรัม มีผลตอบแทนรวม -0.88 บาทต่อกิโลกรัม และมีผลตอบแทนที่เป็นเงินสด -0.34 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อวิเคราะห์มูลค่าทางการเงินแล้วลานเทปาล์มน้ำมันมีระยะเวลาในการคืนทุน (PB) 14 ปี 2 เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ -4,636,512.96 และมีอัตราผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 0.18 ดังนั้นการบริหารจัดการเรื่องต้นทุนของลานเทปาล์มน้ำมัน ทั้งด้านต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการลานเทปาล์มน้ำมันต้องให้ความสำคัญ เพราะส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในอนาคต และเพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันและด้านการสร้างความได้เปรียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในต่างพื้นที่ต่อไป
References
Choengthong, S., Suttapong, K., Chengtong, S., Duangjan, C., & Loykulnanta, S. (2010). The project of Oil Palm Market Agreement System in Suratthani Province. Research reports. Supported by the Thailand Research Fund (TRF).
Chomchey, P. (2008). Customer Views for the Oil Palm Bunch Collection Center Service: Case study of the Saichon Palm. Plai Phraya district Krabi Province. Bangkok: Suan Dusit Rajabhat University.
Department of Internal Trade, Suratthani. (2015). List of entrepreneurs of oil palm bunch collection center in Suratthani Provinces. Retrieved November 20, 2015, from: http://www.dit.go.th /Surat Thani
Junklab, B. (2015). Study of supply chain of the Oil Palm Bunch Collection Center in the Pak Phanang River Basin. Journal of Transportation and Logistics, 8,12-20.
Khunchamnan, W. & Chamchang, P. (2013). Location Analysis Oil Palm Collection and Distribution Center, Krabi Province. WMS Journal of Management, 2(2), 1-9.
National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2012). Good Practices for the Oil Palm Bunch Collection Center (2008). Retrieved November 20, 2015, from http://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_OIL _PALM_BUNCH.pdf
Phetsichuang, W. (2016). Trends/industrial oil palm industry in 2559-2561. Research Krungsri. Retrieved June 16, 2018, from https://www.krungsri.com/bank/getmedia/c2728a31-271c-4e4c-ae89ea067aa33eb9/IO_OilPalm_2016_TH.aspx
Pittayapinun, P., & Nissapa, A. (2012). Analyzing the potential to produce biodiesel from palm oil in southern Thailand. Management Science, 29(1), 1-16.
Sansomporn, N., & Chamchang, P. (2014). Activities and Logistics Costs of the Oil Palm Bunch Collection Center in Krabi Province. Kasetsart Journal (Social) Year 35, 326-336.
Southern verification center (Suratthani). (2016). List of entrepreneurs of oil palm bunch collection center in Suratthani Province. Retrieved on June 16, 2016, from http://www.dit.go.th/region /CBWM31
Suratthani Provincial Administration Board Suratthani Provincial Office, (2015). Suratthani Provincial Development Plan 2015-2018. Retrieved August 20, 2017, from http://www.suratpao.go.th/ planning/files/com_service/20160527_jyyvkerg.pdf
Trang Cooperative Office Department of Cooperative Promotion. (2010). Guidelines for Oil Palm Farmer's Business. Retrieved on August 26, 2016, from http://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_ 1081467741.pdf
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill.