ลักษณะเด่นการหลากคำในการ์ตูนสั้น “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน”

ผู้แต่ง

  • Phitchayawee Thongklang nakhon ratchasima rajabhat unibersity

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.25

คำสำคัญ:

การหลากคำ, หนังสือพิมพ์, ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเด่นการหลากคำ และศึกษาความนิยมการใช้คำและเครื่องหมายในการ์ตูนสั้น “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 ระยะเวลา 6 เดือน จำนวน 181 ฉบับ โดยนำแนวคิดการใช้เครื่องหมายเพื่อสื่อความ การใช้คำไพเราะ การใช้ภาษาภาพพจน์และการใช้สำนวน ผลการวิเคราะห์ลักษณะเด่นการหลากคำพบการใช้เครื่องหมายจุด เครื่องหมายปรัศนี เครื่องหมายอัศเจรีย์ เครื่องหมายไม้ยมกหรือยมก เครื่องหมายไปยาลน้อยหรือเปยยายน้อย การใช้เสียง การใช้คำที่มีจังหวะและเสียงคล้องจองกัน การซ้ำคำเพื่อเน้นหนัก อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ ปฏิทรรศน์ การเลียนเสียงธรรมชาติ การใช้สำนวนตรงความหมาย การใช้สำนวนผิดและการใช้สำนวนผิดไปจากสำนวนเดิม ส่วนการศึกษาความนิยมการใช้คำและเครื่องหมายในการ์ตูนสั้น โดยการวิเคราะห์ความถี่และร้อยละพบการใช้เครื่องหมายเพื่อสื่อมากที่สุด จำนวน 111 คำ คิดเป็นร้อยละ 70.70 และความนิยมในแต่ละประเภทที่พบมากที่สุด ได้แก่ การใช้เครื่องหมายปรัศนี การซ้ำคำเพื่อเน้นหนัก อติพจน์ การเลียนเสียงธรรมชาติและการใช้สำนวนให้ตรงกับความหมาย ลักษณะภาษาที่พบดังกล่าวเป็นการหลากคำที่ผู้เขียนใช้เพื่อสื่อความหมาย จึงส่งผลทำให้การใช้ภาษามีลักษณะเด่นได้รับความนิยมและประสบผลสำเร็จ

References

Adchariyapiboon, O. (2009). An Analysis of the Art of Language Usage in “Chang Sum Ran”. Humanities Journal Naresuan University, 8(2), pp. 39-56. (In Thai)
Kanbut, T. (2012). The Use of Language to Convey humours in Thai Political Cartoons. Master of Arts, degree of Thai Language, Thaksin University, Songkhla. (In Thai)
Khunthong, C. (2006). Language in prabda yoon’s literary works. Master of Art, degree of Thai Language, College Srinakharinwirot University, Bangkok. (In Thai)
Laksanasiri, C., & Imsamran, B. (2007). Language and communication (2nd ed.). Bangkok : P.S. (In Thai)
Na Nakorn, P. (2001). Language level. Bangkok : Chuanpim. (In Thai)
Nanthachantoon, S. (2003). Writing for communication 2 (2nd ed.). Bangkok : Kasetsart University. (In Thai)
Pancharoensawat, C. (1986). An analysis of chat rat chawat’s satirical comics 1978-1980. A Thesis for Master of Educational Program, Srinakharinwirot University, Bangkok. (In Thai)
Phetcharat, J., & Thongbai, A. (2013). Academic reading and waiting. Bangkok : Odeonstore. (In Thai)
Posakrisana, P. (1998). Thai Characteristics (6th ed.). Bangkok : Ramsan.
Royal Academy. (2008). Rules for the use of punctuation and other marks, Space rules, Guidelines for writing abbreviations (7th ed.). Bangkok : Arunganpim. (In Thai)
Thairath. (2016). History of Thairath Newpaper. Retrieved August 22, 2016, from : https://www. thairath.co.th/corporate/generation1 (In Thai)
Watiktinnakon, P. (2005). Characteristics and use of Thai language. Bangkok : Ramkhamhaeng University. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

How to Cite

Thongklang, P. (2019). ลักษณะเด่นการหลากคำในการ์ตูนสั้น “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน”. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(2), 53–66. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.25