- เปรียบเทียบกระบวนการรักษาโรคมะเร็งระหว่างหมอพื้นบ้านไทยและลาว

ผู้แต่ง

  • Tanida Phatisena Nakhon Ratchasima Rajabhat University

คำสำคัญ:

กระบวนการรักษา, โรคมะเร็ง, หมอพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการรักษาโรคมะเร็งของหมอพื้นบ้านไทยและลาว การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย หมอพื้นบ้านด้านสมุนไพรที่รักษาโรคมะเร็ง ในประเทศ สปป.ลาว จำนวน 1 คน และในประเทศไทย จำนวน 1 คน 2) กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และญาติผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูล แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การเก็บแบบรวบรวมข้อมูลใช้การสำรวจ การสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ด้านบริบทของหมอพื้นบ้าน ในประเทศสปป.ลาว พบว่า ผู้ให้ข้อมูลคือหมอพื้นบ้านลาว อายุ 68 ปี มีบุตรชาย 1 คน ความเชี่ยวชาญในการรักษาโรค คือ โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรครูมะตอยด์ มีการให้บริการรักษาทั้งแบบผู้ป่วยใน คือมีที่พักรักษาในสถานบริการ และแบบผู้ป่วยนอก ส่วนบริบทของหมอพื้นบ้านในประเทศไทย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลคือหมอพื้นบ้านไทย อายุ 83 ปี มีบุตรชาย 1 คน หญิง 5 คน ความเชี่ยวชาญในการรักษาโรค คือ โรคมะเร็ง มีการให้บริการรักษาทั้งแบบผู้ป่วยนอกเท่านั้น 2. เปรียบเทียบกระบวนการรักษาโรคมะเร็งของหมอพื้นบ้านไทยและลาว พบว่า หมอพื้นบ้านลาวมีกระบวนการรักษาโรค คือ 1) ซักประวัติ 2) ตรวจร่างกาย โดยใช้มือคลำ และใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือด 3) วินิจฉัยโรค 4) จ่ายยาสมุนไพรเป็นห่อ ๆ ให้ไปต้มรับประทานต่อไป สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น หมอพื้นบ้านลาวมีบุตรชายเป็นผู้สืบทอดหมอยาพื้นบ้านต่อจากตนเอง ในส่วนหมอพื้นบ้านไทยพบว่ามีกระบวนการรักษาโรคดังนี้ 1) ลงทะเบียน ซักประวัติ 2) ขึ้นครู 3) สวดวิชาเป่ามะเร็ง 4) เป่า 5) ให้ยาไปกิน สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน มีดังนี้คือเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนของโรงเรียนในพื้นที่ตามหลักสูตรวิชาสมุนไพรพื้นบ้านไทย และถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนทั่วไปที่มาสอบถาม เรียนรู้ที่บ้านซึ่งจัดเป็นศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรครบวงจรสามารถนำความรู้ทักษะไปปฏิบัติด้วยตนเองได้

References

ชนิดา มัททวางกูร. (2557). จุดเปลี่ยน จุดยืน และจดุเชื่อมประสานภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านกับระบบสุขภาพชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ธนิดา ขุนบุญจันทร์ (บรรณาธิการ). (2554). สมุนไพรพื้นบ้านลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
บัวทอง จูมพะบุตร. (2554). วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านไทยอีสานและลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์.
ปัทมานันท์ หินวิเศษ. (2549). หมอพื้นบ้านกับการรักษาผู้ป่วยด้วยสมุนไพร:กรณีศึกษาตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
พระประสิทธิ์ ไชยชาติ. (2553). การจัดการความรู้ของหมอพื้นบ้านด้านการรักษาพยาบาลในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พระสุริยา มาตย์คำ. (2552). การพัฒนากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย. (2550). สมุนไพรพื้นบ้านลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07