การออกแบบและสร้างสรรค์ประติมากรรมหินทรายจากเปลือกของหอยเชอรี่ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนบ้านท่าหลวง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Samart Jabjone 340 suranarai road Muang
  • อาวุธ คันศร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ทองไมย์ เทพราม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ประติมากรรมหินทราย, เปลือกหอยเชอรี่, ศิลปหัตถกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ประติมากรรมหินทรายจากเปลือกหอยเชอรี่ต้นแบบที่เป็นเอกลักษณ์ตามบริบทของท้องถิ่น เผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ และประเมินความพึงพอใจเกษตรและชุมชนที่มีต่อการออกแบบและสร้างสรรค์ประติมากรรมหินทรายจากเปลือกของหอยเชอรี่ ประชากรซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ประติมากรรม 3 ท่าน เกษตรกรและประชาชนที่เข้ารับการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ บ้านท่าหลวง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 50 คน โดยมีแรงบันดาลใจในการร่างการออกแบบชิ้นงานจากอากัปกิริยาของ นก ปลา หอย ที่มีความเกี่ยวพันกันในระบบนิเวศวิทยา ทำการปั้นตัวแบบดินเหนียว หล่อแบบและได้พิมพ์ต้นแบบปูนปลาสเตอร์ ทำพิมพ์ยางหล่อต้นแบบจากเปลือกหอยเชอรี่ นำไปผึ่งลมให้ชิ้นงานเซ็ตตัว แช่ในถังน้ำที่ผสมกรดเกลือแล้วนำขึ้นมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมการออกแบบและสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า สามารถสร้างสรรค์ประติมากรรมหินทรายจากเปลือกหอยเชอรี่ต้นแบบที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น จำนวน 9 แบบ โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.75, S.D.=0.78) และเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.20, S.D.=0.56) ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์เปลือกหอยเชอรี่อย่างสร้างสรรค์และสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนได้

References

กมลศิริ พันธนียะ. (2561). ชีววิทยาและประโยชน์ของหอยเชอรี่. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, จาก https:// www.nicaonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=595:2012-02-22-07-27-13&catid=38:2012-02-20-02-58-39&Itemid=120
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2554). จาก OTOP เป็น TOP OTOP. วารสารอุตสาหกรรมสาร, 54(มีนาคม-เมษายน), 14-17.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานสถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2560 (Tourism Statistics 2017). สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, จาก https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=414&filename=index
คณะทำงานกลุ่มปฏิบัติการจัดการความรู้การจัดการศัตรูพืช. (2556). ศึกษารูปแบบการจัดการหอยเชอรี่ในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, จาก https://61.19.248.246/~doae/files/files/ news/macea.Pdf
ณฐนนท์ ตราชู และคณะ. (2550). การพัฒนาครีมกันแดดจากเปลือกหอยเชอรี่. มหาสารคาม : คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทนงศักดิ์ มูลตรี. (2552). เซรามิกส์จากเปลือกหอยเชอรี่. กรุงเทพมหานคร : คลีนิคเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_______. (2554). อิฐบล็อกจากเปลือกหอยเชอรี่. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, จาก https://touristcommunity. blogspot.com/2011/09/blog-post_29.html
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาส์น.
รัชดาภรณ์ ปันทะรส และคณะ. (2014). การสังเคราะห์แคลเซียมซิลิเกตจากหอยเชอรี่และแกลบข้าวเพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในไบโอดีเซล. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, จาก https://programming.cpe.ku.ad.th/ Agrinformatics/viewProject.php?itemID=3997
วราภรณ์ มั่นทุ่ง, วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ และ นิรัช สุดสังข์. (2558). ผลของการใช้เปลือกหอยและผงเหล็กที่มีต่อการพัฒนารูปแบบ เครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 6(1), 77-89.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (2559). รายงานคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, จาก https://www.slideshare.net/ssuser807bbb/2559-77029233
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, จาก https://www.royin.go.th/dictionary/index.php
Austin-Breneman, J., & Yang, M. (2013). Design for micro-enterprise : An approach to product design for emerging markets. USA : Portland.
Koren, Y. (2010). The Global Manufacturing Revolution: Product-Process-Business integration and reconfigurable systems. New Jersey : John Wiley & Sons.
Walker, S. (2011). The Spirit of Design : Objects, Environment and Meaning. London : Earthscan Publications.
Whitehead, T., Evans, M. A., & Bingham, G. A. (2016). Design tool for enhanced new product development in low income economies. Proceedings of DRS2016 : Design+Research+ Society-Future-Focused Thinking, 6, 2241-2256.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07