การพัฒนาชุดการเรียนการเล่นกีตาร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพวิทยา
คำสำคัญ:
ชุดการเรียนการเล่นกีตาร์ขั้นพื้นฐาน, ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาชุดการเรียนการเล่นกีตาร์ขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียน และ ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 ห้องเรียน รวม 286 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยการจับฉลาก 1 ห้องเรียน คือ ห้อง 5/1 จำนวน 30 คน และใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ชุดการเรียนการเล่นกีตาร์ขั้นพื้นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีค่า IOC ได้อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ทุกชุด ใช้เกณฑ์คุณภาพของบทเรียนไม่ต่ำกว่า 80/80 และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของชุดการเรียน (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 81.40/88.83 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านคือ ด้านเนื้อหา (=4.77, S.D.=0.22) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (=4.75, S.D.=0.25) และ ด้านสื่อการเรียนรู้ (=4.70, S.D.=0.26) แสดงให้เห็นว่า ชุดการเรียนการเล่นกีตาร์ขั้นพื้นฐานที่มีรูปแบบน่าสนใจ และเนื้อหาเข้าใจง่าย ทำให้ทักษะการเล่นกีตาร์เป็นไปในทิศทางที่ดี เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และส่งผลให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
References
บังอร อาจวิชัย. (2550). การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องเพศศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
วรนุช ประดิษฐพงษ์. (2556). การพัฒนาชุดการสอนการปฏิบัติซอด้วงสำหรับนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเนินปอรังนกชนูทิศ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานคร.
วิญญู ทรัพยประภา. (2558). ดนตรี : มิติที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริชัย กาญจนวาสี และ ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์. (2555). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการการศึกษาแห่งชาติ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
เสนีย์ ศิริสวัสดิ์. (2558). การศึกษาประสิทธิภาพชุดการสอนปฏิบัติกีตาร์ขั้นพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอัสสัมชัญ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานคร.
Bloom, B. S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York : McGraw-Hill.
Fitz-Gibbon, & Carol, T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park : Sagh.
Schmid, W., & Koch, G. (1982). Hal Leonard Guitar Method, Complete Edition: Books 1. Milwaukee: Hal Leonard Corporation.
Thorndike, R. L. (1969). Measurement and Evaluation in Psychology and Education. New York : Wiley.