การวิจัยสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรื่อง ดินสาระความงามปราสาทหินพิมาย

ผู้แต่ง

  • Araya Manoonsak คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

จิตรกรรรมผสม, ดินสาระความงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของดินในเขตอำเภอพิมายและความงามทางสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมาย และสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมด้วยดินจากอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยสร้างสรรค์ โดยการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดินในอำเภอพิมาย จำนวน 13 ตำบล โดยคัดเลือก 4 ตำบล ทำการถ่ายภาพมุมมองโดยรวมของปราสาทหินพิมาย ทำการทดลองผลงานภาพทางเทคนิค จำนวน 4 ชิ้น โดยใช้ทัศนะธาตุทางด้านองค์ประกอบศิลป์ ประกอบด้วย เส้น น้ำหนักแสงเงา สีดิน และพื้นผิว การสร้างสรรค์ผลงานพบว่า ได้แนวทางการทดลองสร้างสรรค์จากวัสดุดินที่ให้คุณค่าสีในตัวและองค์ความรู้ใหม่ทางทฤษฎีโดยมีน้ำหนักสีของ ดินทรายสีเหลือง คือ สีเหลือง ดินทรายสีส้มอมชมพู คือ สีส้มอมชมพู ดินทรายผสมดินร่วน คือ สีน้ำเงินและสีม่วงน้ำเงิน ดินเหนียวปนทราย คือ สีแสด ดินร่วนปนเหนียว คือ สีน้ำตาลอมแดง ดินร่วนปนเหนียวสีขาว สีเหลือง คือ สีเหลืองปนขาว และ ดินทรายสีแดง คือ สีแดงอมส้ม มุมมองของปราสาทหินพิมายที่นำมาสร้างสรรค์ ได้แก่ ด้านทิศใต้ และด้านทิศเหนือ สามารถสร้างสรรค์ผลงานเทคนิคสีจากดินบนผืนผ้าใบที่เกิดจากแรงบันดาลใจได้ จำนวน 4 ชิ้น คือ ทรัพย์บนดิน บนผืนดินเกิด ความสมบูรณ์ของวัฒนธรรม และ ความผสมผสานวัฒนธรรม ดิน น้ำ

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2556). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ. (2557). อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2560, จาก http://www. amphoe.com/menu.php?mid=1&am=229&pv=20
สมมาตร์ เกิดผล. (2554). ปราสาทหินพิมาย : เพชรน้ำเอกแห่งวิมายปุระ. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
อภิชาต ศรีสะอาด และ จันทรา อู่สุวรรณ. (2556). จากภูมิปัญญา...สู่นวัตกรรมใหม่ การปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร. กรุงเทพมหานคร : นาคาอินเตอร์มีเดีย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07