การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กรณีศึกษา เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน เซโน

ผู้แต่ง

  • กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรรณภา ลือกิตินันท์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ข้ามชาติ, เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน, สปป.ลาว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโอกาส ปัญหา และข้อควรคำนึงถึงในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อศึกษาวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตามหน้าที่งาน รวมทั้งศึกษาวัฒนธรรมชาติในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติใน สปป.ลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก คณะผู้วิจัยใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้จัดการด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ และพนักงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่เป็นชาวไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติงานและให้คำปรึกษาด้านการบริหารแก่บริษัทลงทุนข้ามชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษสะ-หวัน เซโน จำนวน 5 คน จาก 3 บริษัท ผลการวิจัยพบว่า โอกาสในการดำเนินธุรกิจมาจากภาษี การลดค่าใช้จ่ายด้านค่าแรง ค่าสาธารณูปโภค ปัญหาที่พบประกอบด้วย ปัญหาด้านกำลังคน ปัญหาการลาออก ปัญหาเวลาการปฏิบัติงาน ปัญหาด้านการติดต่อหน่วยงานราชการและกฎหมาย ข้อควรคำนึงถึง คือนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ชาวไทยควรปรับตัวในการทำงาน ทำความรู้จักหน่วยงานทั้งเอกชนและราชการในพื้นที่ ต้องศึกษาภาษาและวัฒนธรรมประจำชาติ และควรมีชาวลาวเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์ บริษัททั้ง 3 แห่ง นำแนวทางการบริหารจากประเทศไทยมาใช้ โดยอาจไม่ได้นำมาทั้งหมด ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม การตัดสินใจในการบริหารทั่วไปอำนาจจะอยู่ที่ สปป. ลาว การสรรหาและคัดเลือก ใช้ระบบจากประเทศไทย แต่มีการปรับให้เข้ากับลักษณะของพื้นที่ การฝึกอบรม มีการจัดการฝึกอบรมโดยใช้แนวทางของประเทศไทย ค่าตอบแทนยึดตามกฎหมายแรงงานของ สปป. ลาว โดยให้คล้ายคลึงกับประเทศไทย มีการปรับสวัสดิการตามลักษณะของพื้นที่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้แนวทางเดียวกับประเทศไทย การพนักงานสัมพันธ์ยังไม่ได้มีการนำมาใช้มากนัก การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมชาติ โดยพนักงานชาวลาวให้ความสำคัญกับความสบายใจในการทำงานเป็นหลัก และการสื่อสารเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จะต้องให้เกียรติพนักงาน

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2557). รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2558). เขตเศรษฐกิจพิเศษ สะหวัน-เซโน จุกพลิกโฉมการลงทุนใน สปป.ลาว. กรุงเทพมหานคร : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.
จิระประภา อัครบวร. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบแนวโน้มงานทรัพยารกมนุษย์ในประเทศอาเซียนปี พ.ศ. 2557-2558. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 6(2), 4-25.
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2549). ปัจจัยดึงดูดการลงทุนในเขตเสรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน ของ สปป.ลาว. กรุงเทพมหานคร : ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย.
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2555). เขตเศรษฐกิจพิเศษ Savan-SENO...แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญทางภาคกลางของ สปป.ลาว. กรุงเทพมหานคร : ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย.
พงษ์รัตน์ดา บุตรโต. (2556). โอกาสทางการค้าและการลงทุนในแขวงสะหวันนะเขต สปป. ลาว. กรุงเทพมหานคร : กรมการค้าต่างประเทศ.
พฤกษ์ เถาถวิล และ สุธีร์ สาตราคม. (2556). สปป.ลาว: อุปสรรคการกำกับควบคุมของรัฐตามกรอบ MOU ระหว่างประเทศด้านการจ้างงาน. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 9(2), 25-54.
พวงผกา กงเพชร, ดาวใจ ศรลัมพ์ และ ปิยรัตน์ ลีรคมสัน. (2557). การเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อความสำเร็จในการประกอบกิจการในศาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว). วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 6(2), 117-125.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, ภาคภูมิ ภัควิภาส, สุธีมนต์ ทรงศิริโรจน์ และ สาลินี ชัยวัฒนพร. (2559). แนวทางการจัดการข้ามวัฒนธรรมทางธุรกิจต่อสถานภาพผู้ประกอบการไทยในวัฒนธรรมลาว: หลวงน้ำทา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(4), 47-59.
ศุภชัย วรรณเลิศสกุล. (2553). เขตเศรษฐกิจพิเศษ-เซโน: โอกาสและอุปสรรคสำหรับการลงทุนจากประเทศไทย. วารสารวิชาการ มอบ., 1(12), 70-80.
ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในอาเซียน. (2557). มารยาททางธุรกิจและวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2560, จาก สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ http://cks.ditp.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานสรุปผลการสำรวจพื้นที่ชายแดนและเขตเศรษฐกิจพิเศษไทย ลาว เวียดนาม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เวียงจันทน์. (2559). รัฐบาล สปป.ลาวตั้งเป้าพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีข้างหน้าให้เติบโตไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 7.5. ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ : สปป.ลาว.
สุนันทา เสียงไทย. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นในเมืองไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 32(2), 1-17.
Aycan, Z., N. Kanungo, R., Mendonca, M., Yu, K., Deller, J., Stahl, G., & Kurshid, A. (2000). Impact of Culture on Human Resource Management Practices: A10-Country Comparison. Applied Psychology: An International Review, 49(1), 192-221.
Crawley, E., Swailes, S., & Walsh, D. (2013). Introduction to International Human Resource Management. United Kingdom : Oxford University Press.
Graham, J. L. (2010). Chapter 18: John L. Graham: Culture and Human Resources Manaement. In A. M. Rugman (Eed.), The Oxford handbook of international business (2nd ed ed.). Oxford : Oxford University Press.
Holtede, G. (1994). The business of International Business is Culture. Inteernational Business Review, 1(3), 1-14.
Luthans, F., D. H. Wesh, & Rosenkrantz, S. A. (1993). What do Russian Managers Really Do? An Observational Study with Comparison to US Manager’. Journal of International Business Studies, 24(4), 741-762.
Nel, P. S., & Sisavath, M. (2014). International Human Resource Management in the Context of Human Capital of Multi-national Organization in Loas.
Riyadh, M. H. H., Zaman, S., & Hasan, M. M. (2015). Impact of Culture on HRM practices: a Comparative Study between foreign MNCs and South Asian Companies in South Asia. Journal of Business and Management, 17(6), 15.
Sparrow, P., Shuler, R., & Jackson, S. (1994). Convergence or divergence: human resource practices and policies for competitive advantage worldwide. The International Journal of Human Resource Management, 5(2).
The World Bank Group. (2016). Enterprise Surways: Lao PDR 2016 Country Profile. Washington. Ugoani, J. N. N. (2016). Cultural dimensions in global human resource management: Implication for Nigeria. Independent journal of management & production, 7(3), 27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10