การสื่อสารการตลาดผ้าไหมอารยธรรมขอม และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหม บ้านตะคร้อเหนือ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เนตรชนก คงทน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พีรวิชญ์ คำเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จิรพัฒน์ โทพล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, ผ้าไหมอารยธรรมขอม, การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาบริบทผ้าไหมอารยธรรมขอม กลุ่มทอผ้าไหมบ้านตะคร้อเหนือ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของผู้บริโภค 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอารยธรรมขอมของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านตะคร้อเหนือ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา และ 4) สร้างสื่อต้นแบบการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบ้านตะคร้อเหนือ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมาเป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของผู้บริโภค ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นที่บ้านตะคร้อเหนือ เป็นเส้นทางโบราณทั้งในยุคขอมโบราณ คือ เส้นทางราชมังคลาโดยเฉพาะบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านปรากฏโบราณสถานประเภทอโรคยาศาลในวัฒนธรรมขอม ชื่อปรางค์บ้านปรางค์ ที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเขมรโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1724-1761) กลุ่มทอผ้าไหมบ้านตะคร้อเหนือทอผ้าไหมด้วยลวดลายที่หลากหลาย ส่วนมากจะทอลายต้นสน ที่เป็นลวดลายประจำอำเภอห้วยแถลงและไม่มีลวดลายของตนเอง ทั้งนี้ชุมชนมีความต้องการที่จะสร้างอัตลักษณ์โดยการสร้างลวดลายทอผ้าขึ้นมาใหม่ 2) จากการศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและพฤติกรรมการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน พบว่าผู้บริโภคต้องการซื้อผ้าไหมที่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปรองลงมา คือ ผ้าผืน รองลงมาคือ เป็นของฝาก/ของที่ระลึก การได้รับข้อมูลข่าวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมส่วนใหญ่ได้รับข่าวการออกร้านแสดงสินค้ามากที่สุด รองลงมาคือ จากเพื่อน/ญาติ และการบอกต่อของบุคคลอื่น นอกจากนี้จากการสอบถามผู้บริโภคพบว่าต้องการให้มีการออกร้านแสดงสินค้าและสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก เป็นต้น 3)ดำเนินการออกแบบตราสินค้าและลวดลายผ้ามัดหมี่เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับผ้าไหมบ้านตะคร้อเหนือด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้ลวดลายใหม่ชื่อลาย "ปรางค์มงคล" สำหรับผ้าผืนและเพื่อนำมาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อการตกแต่งบ้าน และ 4) ดำเนินการออกแบบสื่อต้นแบบการสื่อสารการตลาดประกอบด้วย ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ เพจสื่อสังคมออนไลน์ และป้ายสำหรับออกร้านและสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบ้านตะคร้อเหนือ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

References

ณัฏฐินี ทองดี, นาง. (2 ธันวาคม 2555). การท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา. อาจารย์สังกัดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. สัมภาษณ์.
ดนุพล สอนจันดา และ ธนพล ธัญญกรรม, นาย. (1 พฤษภาคม 2558). ประวัติความเป็นมาบ้านตะคร้อ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. นักพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. สัมภาษณ์.
เนตรชนก คงทน และคณะ. (2554). การสร้างและสื่อสารภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอารยธรรมลุ่มน้ำบริเวณที่ราบสูงโคราชในการรับรู้ของนักท่องเที่ยว. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
________. (2560). การสื่อสารการตลาดผ้าไท-ยวน และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พิชญ์สิณี สว่างโรจน์. (2556). การรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อผลิตภัณฑ์ของลูกค้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยผักกูด ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม จังหวัดเลย.วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ RMUTT Global Business and Economics Review, 8(2), 116-134.
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ, คณะวิจัย. (2554). การศึกษาอัตลักษณ์และสร้างแบรนด์ผ้าไหมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์). ศีรสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศีรษะเกษ.
วงเดือน สอนจันดา, นาง., อุไรวรรณ คำบาง, นาง., หนูเล็ก สมนาม, นาง., ชลิดา คำสอนพันธ์, นาง., นริน สอนจันดา, นาง และ ถนอม ลาสุดตา, นาง. (2559, 22 มีนาคม). ปราชญ์ผ้าไหมบ้านตะคร้อเหนือ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. สัมภาษณ์.
วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท. (2557). การพัฒนารูปแบบส่วนประสมทางการตลาดของกล่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, การประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10 (11 กันยายน 2557), หน้า 271-283.
สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ. (2554). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าฝ้าย กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านต้นโจ้ก (คําซาว) อำเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2550). หลักการตลาด (สมัยใหม) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แหงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาทิตยา สิริมัชชาดากุล. (2555). ผ้าไหมโคราชรุ่ง!! โกยรายได้ 4,100 ล้าน. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2558, จาก https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1356276617

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10