การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ชุมชนเสมือนของศูนย์การเรียนรู้มะม่วงสำหรับวิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วงเมืองแปดริ้ว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้ชุมชนเสมือน, ศูนย์การเรียนรู้มะม่วง, วิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ชุมชนเสมือนจริง 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ชุมชนเสมือนจริง และ 3) ประเมินความพึงพอใจ ของศูนย์การเรียนรู้มะม่วงสำหรับวิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วงเมืองแปดริ้ว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาความเห็นพ้องต้องการฉันทานุมัติของชุมชน 2) พัฒนานวัตกรรมต้นแบบ 3) นำนวัตกรรมต้นแบบไปทดลองใช้ และ 4) วัดและประเมินผล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกร ครู ผู้ปกครอง และ นักเรียน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกผู้มีส่วนร่วมพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน รวม 27 คน ดำเนินการวิจัยโดยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเป็นเลิศในการผลิตมะม่วง บุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมะม่วง นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน จะซึมซับชุดความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอันสำคัญที่อยู่ในลักษณะของนวัตกรรมที่จะผลิตออกมาต้องประกอบด้วยสาระที่สำคัญ ได้แก่ ลักษณะดิน ชนิดของดิน พันธุ์มะม่วง การขุดล่อง ระดับน้ำ ความสูงของต้น การจัดแต่งกิ่ง การดูแล การให้อาหาร การให้ปุ๋ย การให้ฮอร์โมน ตลอดจนวิธีการสามารถเก็บผลผลิต และได้จำลองรูปแบบการเรียนรู้เสมือนของศูนย์การเรียนรู้มะม่วงที่เกิดจากการจัดความรู้ออกมาเป็นนวัตกรรมต้นแบบได้แสดงผลในรูปแบบเว็บไซต์ http://vlc.rru.ac.th/phpmyadmin และผู้ใช้บริการเว็บไซต์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
References
ประภาภร ดลกิจ. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้เสมือนด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. นิเทศศาสตรปริทัศน์, 18(1), 126-134.
ปรีชา ปัญญานฤพล. (2558, ตุลาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(ฉบับพิเศษ), 181-190.
Augar, N., Raitman, R., & Zhou, W. (2004). From e-Learning to Virtual Learning Community: Bridging the Gap. Retrieved June 24, 2011, from www.springerlink.com/content/17m6qpuxurgkzrtb/fulltext.pdf
Cosgrave, R., & et, al. (2011). Usage and Uptake of virtual Learning Environments in Ireland: Finding from a Multi Institutional. Retrived December 21, 2011, from Ojs.aishe.org/index.php/aishe-j/article/view/
Daneil, B., Schwier, R., & McCalla, G. (2003). Social capital in virtual learning communities and distributed communities of practice. Cannadian Journal of Learning and Technology, 29(3), 113-139.
Kowch, E.G., & Schwier, R. A. (1997). Learning Community and Technology. Retrived March 16, 2011, from www.usask.ca/education/coursework/802papaers/communities/community. PDF
Tele Apprentissage Communautaire et Transformatif. (1998). Learning Community: a definition. Retrived March 16, 2011, from http://tact.fse.ulaval.ca/fr/html/prj-7.1/community2.html