การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมาเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ผู้แต่ง

  • ลลิตา ธงภักดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์ ข้าราชการบำนาญ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, ความสามารถในการจัดการเรียนรู้, ผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของครูผู้สอน 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทำงานร่วมกัน และความพึงพอใจในการเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการวิจัย กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนในสังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 10 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง และพิจารณาจากความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการเรียนรู้ของครู แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการทำงานร่วมกัน แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการของครู และแบบสะท้อนผลการสรุปบทเรียนของครู วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้น คะแนนทักษะการทำงานร่วมกันหลังเรียนเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และ 3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการวิจัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : เซนจรี่.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2559). โครงการพัฒนาระบบและกลไกและแนวทางการหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนระดับจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559, จาก www.pl2learn.com/15479604/จังหวัดนครราชสีมา
สุกัญญา จันทร์แดง. (2556). ผลการจัดการด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานร่วมกัน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2), 567-581.
สุมณฑา พรกุล และ อรพรรณ ศิริมหาสาคร. (2540). การเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2552). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
Gillies, R. M. (2007). Cooperative learning: Integrating theory and practice. California: Corwin Press.
Vaughan, Winston. (2002, July-August). “Effects of Cooperative Learning on Achievement and Attitude Among Students of Color”. Journal of Educational Research, 95(6), 359-364.
Barnett, T. L. (2003). The Influence of Organizational Culture, Work Environment and Personal Work Life on Job Satisfaction and career Commitment of Student Affairs Middle Managers. Boston : Houghton Miffin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10