แนวทางในการพัฒนาขั้นตอนการทำงานวิจัยของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ขั้นตอนการทำงานวิจัยบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานงานวิจัย 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำงานวิจัย และ 3) เป็นแนวทางในการพัฒนาขั้นตอนในการทำงานวิจัย ของนิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดสระแก้ว ประชากรเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชางานนิพนธ์ ปีการศึกษา 2558 รุ่นที่ 12 และ 13 จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงทั้งหมด ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีลักษณะแบบประมาณค่า 4 ระดับ และแบบปลายเปิด มีค่าสหสัมพันธ์ (r) ตั้งแต่ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.82 สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาเรียงตามลำดับความถี่นำมาจัดหมวดหมู่ นำเสนอเป็นความเรียงแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานวิจัยอยู่ในระดับดีที่สุด โดนสรุปปัญหาและอุปสรรคได้ 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การขาดความรู้ความเข้าใจในการทำงานวิจัยในแต่ละขั้นตอน 2) ระยะเวลาการทำงานวิจัยในแต่ละขั้นตอนไม่เพียงพอ 3) ค่าใช้จ่ายในการทำงานวิจัย และ 4) ความสอดคล้องของหัวข้องานวิจัยกับศาสตร์ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ และแนวทางในการพัฒนาคือ 1) การจัดโครงการส่งเสริมเรียนเรียนรู้ทางด้านการทำงานวิจัยนอกเหนือจากการเรียนการสอนในรายวิชา 2) การจัดทำผังขั้นตอน เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัยให้ชัดเจนเป็นปัจจุบันและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 3) การพัฒนากระบวนการ การกำหนดตารางให้คำปรึกษา การกำกับติดตามอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอนของอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับนิสิต และ 4) การพัฒนาการคัดสรรตั้งแต่เริ่มประเด็นการวิจัยให้มีความสอดคล้องกับศาสตร์ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ตรงตามหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโท
References
ชัยยศ ปานเพชร. (2553). การใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารอินฟอร์เมชั่น, 17(2), 1-7.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.
มหาวิทยาลัยบูรพา, งานทะเบียน. (2559). ข้อมูลนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดสระแก้ว ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชางานนิพนธ์ ปี พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2559, จาก http://reg.buu. ac.th/registrar/class_info_1
________. (2559). ข้อมูลนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2558-2559. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2559, จาก http://reg.buu.ac.th/document/CurrStu/CurrStu09082559_1_2559.pdf
วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์, ทรงธรรม ธีระกลุ, เสาวนีย์ แสงสีดำ และ ศศิธร ดีใหญ่. (2553). ปัจจัยในการสำเร็จการศึกษาล่าช้า ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา : หน่วยวิจัยสถาบัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2545). คู่มือการศึกษานิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2545. ชลบุรี : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : วิทยาพัฒน์.
สิริภักตร์ ศิริโท. (2559). อาจารย์ที่ปรึกษาที่ดีในวิชาโครงงาน/วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559, จาก www.km.mut.ac.th/attachments/714852906/KM_การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา.doc.
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2558). ระเบียบวิธีวิจัย สำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.
อรุณศรี พุ่มนวล. (2551). ความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological testing (5th ed.). New York : HarperCollins. Dubrin.
Kerlinger, F. N. (1986). Foundations of Behavioral research (3th ed.). USA : Holt, Rinehart and Winston, Inc.