แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพ และ ผลิตภาพ เพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มของกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร “อ้อย” ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
แนวทางและการพัฒนา, ประสิทธิภาพและผลิตภาพ, การยกระดับ, การสร้างมูลค่าเพิ่มบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนในพื้นที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง รวม 80 คน ได้แก่ เกษตรกรชาวไร่อ้อย 40 คน หัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย 15 คน หัวหน้าโควตาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 25 คน ดำเนินการตามวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ด้วยเทคนิค R&D เน้นความสำคัญแบบพลวัตรกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลจากการจัดเวทีชุมชน ประชุมสนทนากลุ่มด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยด้วยการตีความ สร้างข้อสรุปเพื่อแสวงหาข้อค้นพบและแนวทาง บรรยายผลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพดินในแปลงปลูก น้ำ และพันธุ์อ้อย 2) การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตอ้อย ได้แก่ การทำน้ำไซรัปน้ำตาลอ้อยอินทรีย์ น้ำอ้อยคั้นสด แผ่นไม้อัดจากกากอ้อยส่งออกต่างประเทศ อาหารเลี้ยงสัตว์และปุ๋ยหมักเพื่อจำหน่าย 3) การลดต้นทุนการผลิตและจัดจำหน่าย ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมและตรงช่วงเวลาการเพาะปลูก ใช้เครื่องจักกลที่ทันสมัยทดแทนแรงงานคน จัดโซนนิ่งพื้นที่การปลูกและรับซื้ออ้อยที่ชัดเจน และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและเอกชน 4) ปัญหาและอุปสรรคกระบวนการพัฒนาและยกระดับพืชเศรษฐกิจอ้อย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ต้นทุน แรงงาน ราคาเครื่องจักรที่สูงมาก ขาดความหลากหลายของพันธุ์อ้อยที่ดี จำเป็นต้องใช้สารเคมี และรูปแบบการจำหน่ายอ้อยที่หลากหลาย และ 5) แนวทางการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการและเกษตรกรชาวไร่อ้อย ได้แก่ จัดตั้งสมาคมชาวไร่อ้อย รวมกลุ่มในรูปแบบหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยหรือหัวหน้าโควตา และรวมกลุ่มกันในลักษณะเกษตรแปลงใหญ่
References
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560, 8 กันยายน). สรุปเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเกษตร”. สัมมนาวิชาการประจำปี 2560, 1-2.
สงัด ทองภูธรณ์. (2550). การตัดสินใจปลูกอ้อยในพื้นที่นาของเกษตรกรในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557), การศึกษาการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร กรณีศึกษา : รถตัดอ้อยโรงงาน. ขอนแก่น : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 4.
สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย. (2557). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2556/57 กลุ่มวิชาการและสารสนเทศอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559, จาก http://www.sugarzone.in.th
อภิวัฒน์ คำสิงห์. (2555). น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ (KTIS) จับมือจอห์น เดียร์ ทุ่ม 500 ล้าน พัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไร่อ้อย. เทคโนโลยีชาวบ้าน, 24(535), 84.
อุกฤษฎ์ พงษ์วานิชอนันต์. (2552). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตอ้อยโรงงาน ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ปีการเพาะปลูก 2550/2551. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การจัดการ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.