การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การบริหารงานวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามโดยภาพรวมและรายด้าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวน 453 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t-test และ F-test ทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีการของ Fisher’s least significance difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และด้านการนิเทศการศึกษา และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 2. ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริหารและครูที่มีระดับการศึกษาและตำแหน่งปัจจุบันแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 แตกต่างกัน สำหรับ ผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานและขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
________. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2559, จาก http://math.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2015/PDF/Curriculum%202551.pdf
จตุพร ลาภยิ่งยง. (2557). การศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
พัชรนิทร์ ช่วยศิริ. (2554). การศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
เพ็ญรดาพร กุลเพียงราษฎร์. (2552). ศึกษาการรับรู้ และการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูในโรงเรียนขยายโอกาศทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
ไพศาล หวังพานิช. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎธนบุรี.
วาสนา เพิ่มพูน. (2542). พฤติกรรมการสอนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎธนบุรี.
สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษาไทย. วารสารวิทยาจารย์, 107(2), 7-12.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (ปี พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559, จาก http://www.nesdb.go.th/download/Plan12/เอกสารประกอบความคิดเห็นร่างแผนฯ%2012.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559, จาก http://www.wt.ac.th/plan/news/porpeangguide.pdf
เสาวลักษณ์ มาพร. (2551). ความพร้อมในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.