ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

ผู้แต่ง

  • ประภาพร แฝดสูงเนิน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • กรองทิพย์ นาควิเชตร มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ไพศาล หวังพานิช มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ปัญหาการบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 94 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3 ลำดับแรก คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาควรสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนใกล้เคียงและหน่วยงานอื่นในการส่งเสริมพัฒนางานวิจัย ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อผลิตสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สถานศึกษาควรนำข้อมูล และนำผลการประเมินมาใช้ในการตัดสินใจและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

References

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3, สำนักงาน. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปี 2559. นครราชสีมา : กลุ่มนโยบายและแผน.
ชัญญา พงษ์ชัย. (2554). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2554(3), 55.
พนิดา ชาตยาภา. (2559). เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 6(2), 151-162.
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน: ความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มลชยา จีสละ และ ทีปพิพัฒนา สันตะวัน. (2558). แนวทางการบริหารงาวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 . วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
วราภรณ์ อริยธนพล. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา, นครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานสรุปผลการสัมมนา เรื่อง กรอบทิศทางการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ฮาซัน พริ้นติ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : สกศ.
สุปราณี ชินโน. (2556). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
สุวภา คงบุ่งคล้า. (2557). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการและแนวทางแก้ปัญหาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-10