อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ
คำสำคัญ:
อัตราส่วนทางการเงิน, ราคาหลักทรัพย์, อุตสาหกรรมบริการบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาตลาดหลักทรัพย์บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ โดยศึกษาอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) อัตราส่วนสภาพคล่องประกอบด้วยอัตราส่วนทุนหมุนเวียน(CR) และ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (QR) 2) อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ ได้แก่ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) 3) อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรประกอบด้วยอัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) และ อัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 4) อัตราส่วนวัดมูลค่าตลาด ประกอบด้วยอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไร (P/E) อัตราส่วนมูลค่าตลาดต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV) และอัตราส่วนราคาตามบัญชีต่อหุ้น (BVPS) และ 5) อัตราส่วนสำหรับวิเคราะห์งบกระแสเงินสด ได้แก่อัตราส่วนเงินสด (CASH) และอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนปรับแต่งใหม่ (MICR) โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินรายไตรมาสของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจบริการในการคำนวณอัตราส่วนทางการเงินโดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2556 ถึงไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2558 และใช้ราคาตลาดของหลักทรัพย์จากราคาปิดถัวเฉลี่ย คือ ระหว่างช่วงก่อนวันสิ้นสุดไตรมาส 3 วัน ถึง หลังวันสิ้นสุดไตรมาส 3 วัน ผู้วิจัยทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ 2 วิธี คือ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (CR) อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (QR) อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนมูลค่าตลาดต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV) อัตราส่วนราคาตามบัญชี(BVPS) มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนปรับแต่งใหม่ (MICR) มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนที่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ ได้แก่ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (CR) อัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนมูลค่าตลาดต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV) อัตราส่วนราคาตามบัญชีต่อหุ้น (BVPS) และอัตราส่วนเงินสด (CASH)
References
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2551). การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/industry_ sector_p1.html
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2554). ตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ธนเดช อัครพฤทธิ์. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์หมวดโตเคมีและเคมีภัณฑ์ (PATRO). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร.
ปุณยพัฒน์ กัลป์ยาณคุณาวุฒิ. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาตลาดหลักทรัพย์กับอัตราส่วนทางการเงิน: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
พรพิมล ปั้นบำรุงกิจ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาตลาดหลักทรัพย์: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศปี 2549-2551. การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ภูธเนศ เงียบประเสริฐ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาตลาดของหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตเคมีและเคมีภัณฑ์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
วันวิสาข์ นนท์ปัญญา. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาตลาดหลักทรัพย์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2556). ตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สุภาวะดี รอดอ่อน. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาตลาดของหลักทรัพย์กับอัตราส่วนทางการเงิน: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี 2544-2548. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
อดิศักดิ์ อธิมงคล. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินเฉลี่ยกับราคาหุ้นสามัญเฉลี่ยของบริษัทตัวแทนกลุ่มพลังงานที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
อรอุมา ต้นดี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, นครราชสีมา.
อริษา สุรัสโม. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาตลาดหลักทรัพย์บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษา กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, กรุงเทพมหานคร.
Majed Abedel et al. (2012). “The Relationship between the ROA, ROE and ROI Ratio with Jordanian Insurance Public CompaniesMarket Share Price.” International Journal of Humanities and Social Science, 2(11), 115-120.
Mohammad, R. K., Amir, D., Komeilmahjori, K., & Abolfazl, M. (2013). “Relationship between Financial Ratios and Stock prices for the Food Industry Firms in Stock Exchange of Iran”. World Applied Programming, 3(10), 512-360.
Kheradyar, S., Ibrahim, I., & Mar, N. F. (2011).“Stock Return Predictability With Financial Ratios”. International Journal of Trade, Economic and Finance, 2(5), 391.