วิถีชีวิตที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพกสิกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาชาวนาในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
วิถีชีวิต, สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ, ผู้ประกอบอาชีพกสิกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและศึกษาความสัมพันธ์วิถีชีวิตที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ของชาวนาในจังหวัดนครราชสีมา ประชากร คือ ผู้ประกอบอาชีพทำนาในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sample) โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงในระดับอำเภอที่มีพื้นที่และจำนวนชาวนามากที่สุด 5 อำเภอ ทำการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลากแต่ละอำเภอ ๆ ละ 5 ตำบล จำนวน 25 ตำบล และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตาในระดับตำบล ๆ ละ 16 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC เท่ากับ 0.96 และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดสอบสมรรถภาพทางกายและตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหาค่า เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson Correlation เพื่อหาความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และ กิจกรรมสาธารณะอื่น ๆ มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายทุกด้าน คือ สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (WHR) (Sig.=0.03) สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (WHR) (Sig.=0.01) แตะมือด้านหลัง (มือขวาอยู่บน) (Sig.=0.00) นั่งงอตัว (Sig.=0.00) นอนยกตัว 1 นาที (Sig.=0.00) ดันพื้น 1 นาที (Sig.=0.00) และ ก้าวขึ้น-ลง 3 นาที (Sig.=0.00) สำหรับ การทำนาและการทำงานบ้านไม่มีความสัมพันธ์กับดัชนีความหนาร่างกาย (BMI) (Sig.=0.61, Sig.=0.16) และ การออกกำลังกายโดยตรงไม่มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (WHR) (Sig.=0.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ซึ่งมีระดับความสัมพันธ์ทางบวกโดยรวมอยู่ในระดับต่ำมากทุกกิจกรรม แสดงให้เห็นว่า ชาวนาในจังหวัดนครราชสีมามีพฤติกรรมการแสดงออกเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายมีความแข็งแรงคล่องแคล่วว่องไว มีความพร้อมที่จะทำงานหรือการปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันที่สม่ำเสมอ การช่วยเหลืองานของครอบครัวทั้งภายในบ้านและนอกบ้านรวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การประกอบอาชีพที่น้อยมาก
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2548). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2546). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : นิวไทยมิตรการพิมพ์ (1996).
เกียรติศักดิ์ แก้วมหาชัย. (2550). แรงจูงใจในการเลือกประกอบอาชีพเสริมของชาวนาในเขตตำบลเชียงขวาง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
จิตเกษม ประสิทธิ์. (2552). ผลการออกกำลังกายที่ดีต่อสมรรถภาพทางกาย : กรณีศึกษาประชาชนในเขตเทศบาลเชียงรายที่ออกกำลังกาย ณ อาคารเทิดพระเกียรติชุมชนเกาะลอย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
ดวงพงศ์ พงศ์สยาม. (2555). “การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี.” วารสารวิชาการปทุมวัน, 2(3), 68-73.
นันทพร ศรีสุทธะ. (2544). วิถีชีวิตชุมชนกับการเกิดโรคเบาหวาน กรณีศึกษาชุมชนบ้านจัว ตำบลสมัย อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่) (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2552). การศึกษาวิถีชีวิตชุมชนวัดประชาระบือธรรม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา. (2557). ข้อมูลพื้นที่ปลูกพื้นเศรษฐกิจ 3 อันดับแรกของจังหวัดนครราชสีมาตามโครงการประกันรายได้ของรัฐบาล. นครราชสีมา : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). ระบบแสดงข้อมูลด้านสถิติด้านข้อมูลเกษตรกร. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558, จาก https://goo.gl/OdsPH7
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). รายงานผลเบื้องต้น สำระโนการเกษตร พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : บางกอกบล็อก.
Best, J. W. (1978). Research in Education Englewood Cliffs. New Jersy : Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Global Advocacy Council for Physical Activity. (2010). The Toronto Chapter for Physical Activity : A Global Call for Aciotn. Retrieved May 20, 2010, from www.globalpa.otg.uk
Hinkle, D. E., Wiersma, W., & Jurs, S. G. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences (5th ed.). Boston : Houghton Mifflin College Div.
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York : Wiley & Son.
May. (1997). How Multinational and National Firms Compete: A Case study of the Hospitality Industry. New York : Advanced printing. The Free Press.
Pender, N. J. (1987). Health Promotion in nursing practice (2nd ed.). Connecticus : Appleton & Lange.