การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุด้านภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงาน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • ปัทมา สุริยกุล ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้ประกอบการ, นวัตกรรม, ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการที่หนึ่งเพื่อศึกษาระดับภาวะผู้ประกอบการของคณะกรรมการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจังหวัดนครพนม ประการที่สองมุ่งศึกษานวัตกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชุนแปรรูปอาหารจังหวัดนครพนม ประการที่สามเพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจังหวัดนครพนม ประการที่สี่เพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับภาวะผู้ประกอบการ นวัตกรรม และผลการดำเนินงานเมื่อจำแนกตามระยะเวลาในการดำเนินกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจังหวัดนครพนม ประการที่ห้าเพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้ประกอบการ และนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจังหวัดนครพนม ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการบริหารวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจังหวัดนครพนม มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง 238 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ ที่ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรมและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าตามวิธีการของครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติโดยการทดสอบค่าเอฟ (ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว) ค่าความสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้ประกอบการ นวัตกรรม และผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน มีค่าเฉลี่ยในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านระยะเวลาในการดำเนินกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจังหวัดนครพนมมีผลต่อความแตกต่างในด้านระดับภาวะผู้ประกอบการและด้านผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะผู้ประกอบการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อนวัตกรรมและผลการดำเนินงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยปรับมาตรฐาน (β) 0.91 และ 0.74 ตามลำดับ ในขณะที่นวัตกรรมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานเช่นกัน มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยปรับมาตรฐาน (β) 0.67

References

กษมาพร พวงประยงค์ และ นพพร จันทรนำชู. (2556). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 108-120.
ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล และ คณิดา ไกรสันติ. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลานไทร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 (หน้า 969-984). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1).
ธิบดี สกุลวิชญธาดา. (2561, 12 มกราคม). ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. สัมภาษณ์.
พยัต วุฒิรงค์. (2561, 9 มกราคม). ที่ปรึกษาสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. สัมภาษณ์.
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2544). การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.
ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). องค์กรนวัตกรรมทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 30(2), 60-69.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปี 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2560). คู่มือปฏิบัติงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม. (2560). รายงานสถานการณ์ประจำปี 2560. นครพนม : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อมปี 2560. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.sme.go.th/upload/mod_download/
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2552). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2560, จาก http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9520000011977
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ไขรหัส "ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2560, จาก https://www.thairath.co.th/content/613903
Al-Matari, E.M., Swidi, A.K., & Fadzil, F.H. (2014). The Measurement of Firm Performance’s Dimension. Asian Journal of Finance & Accounting, 6(1), 24-49.
Bakar, L. J., & Ahmad, H. (2010). Assessing the Relationship between Firm Resources and Product Innovation Performance. Business Process Management Journal, 16(3), 420-435.
Bear, S. (2017). The 3 Types of Innovation: Product, Process, & Business Model. Journal of Business Strategy, 38(2), 62-75.
Cronbach, J. L. (1974). Essential of Psychological Testing (3rd Ed). New York : Harper and Row.
Frank, I., & Muturi, P. (2017). Effect of Innovation Strategies on Organizational Performance: A Case Study of Bank of Kikali. European Journal of Business and Social Sciences, 6(6), 29-37.
Hair, J.F., Black, W.C., Bary, J.B., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th Ed.). London : Prentice Hall.
Hassan, M.U., Shaukat, S., Nawaz, M.S., & Naz, S. (2013). Effects of Innovation Types on Firm Performance. Pakistan Journal of Commerce and Social Science, 7(2) 243-262.
Hoque, Z. (2004). A contingency model of the association between strategy, environmental uncertainty and performance measurement : impact on organizational performance. Organizations and Society, 9(2), 125-135.
Khajeheian, D. (2017). Media Entrepreneurship: A Consensual Definition. AD-Minister, 91-113.
Kocak, A., Carsrud, A., & Ofiazoglu, S. (2017). “Market, entrepreneurial, and technology orientations impact on innovation and firm performance”. Management Decision, 55(2), 248-270.
Lumpkin, G.T., & Dess, G.G. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking It to Performance. The Academy of Management Review, 21(1), 135-172.
Miller, D. (1983). Revisited: A Reflection on EO Research and Some Suggestions for the Future. Entrepreneurship Theory and Practice, 35(5), 873-894.
OECD. (2005). The Oslo Manual for Measuring Innovation. Retrieved September 2, 2017, from https ://www.oecd.org/site/innovationstrategy/defininginnovation.htm
Suliyant, S., & Rahab, R. (2012). The role of market orientation and learning orientation in improving innovativeness and performance of small and medium enterprises. Asian Social Science, 8(1), 134-145.
Venkatraman, N., & Ramanujam, V. (1986). Measurement of Business Performance in Strategy Research : A Comparison of Approaches. The Academy of Management Review, 11(4), 801-814.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rd ed.). New York : Harper and Row.
Zeebaree, M.R., & Siron, R.B. (2017). The Impact of Entrepreneurial Orientation on Competitive Advantage Moderated by Financing Support in SMEs. International Review of Management and Marketing, 7(1), 43-52.
Zehir, C., Can, E., & Karaboga, T. (2015) Linking Entrepreneurial Orientation to Firm Performance. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 210, 358-367.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01