การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การสืบค้นและการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก
คำสำคัญ:
การเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก, ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ด้านคุณภาพชิ้นงาน, ด้านทักษะการนำเสนอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การสืบค้นและการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การสืบค้นและการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังจากการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และด้านคุณภาพชิ้นงาน หน่วยการเรียนรู้ การสืบค้นและการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 31 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านห้วยทราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพชิ้นงาน และแบบประเมินทักษะการนำเสนอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า ผลการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การสืบค้นและการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก ของนักเรียนหลังเรียน มีผลการเรียนรู้ก้าวหน้าทุกคน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านคุณภาพชิ้นงาน และด้านทักษะการนำเสนอ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ ผลการเรียนรู้ เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และด้านคุณภาพชิ้นงาน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
_______. (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_______. (2551ง). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับ สมบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.curriculum51.net/upload/cur-51.pdf
ฆนัท ธาตุทอง. (2551). การออกแบบการสอนและบูรณาการ. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
จุรีพร สมพงษ์, อดิศร เนาวนนท์ และ วาสนา กีรติจำเริญ. (2558). “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ วัสดุรอบตัวเราและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก.” วารสารราชพฤกษ์, 13(1), 88-94.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2544). เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Robrics). สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2560, จาก http://www.watpon.com/Elearning/mea5.htm
ฐิติมา สมบัติกำไร. (2549). ผลของการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรื่อง วัสดุรอบตัวเราที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
นงเยาว์ โสมาบุตร. (2546). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ระบบนิเวศ โดยใช้วิธีการสอนแบบสอดแทรก (INFUSION). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สุวิริยาสาสน์.
บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (2554). เทคนิคการสร้างสื่อและการนำเสนอผลงาน Microsoft office PowerPoint 2007. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริญญ์ ทนันชัยบุตร. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
รุ่งทิวา ภิญโญศรี. (2549). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการสอนบูรณาการแบบสอดแทรก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
โรงเรียนบ้านห้วยทราย. (2558). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555. ชัยภูมิ : โรงเรียนบ้านห้วยทราย. อัดสำเนา.
_______. (2559). รายงานจำนวนนักเรียน 10 มิถุนายน 2559 ปีการศึกษา 2559. ชัยภูมิ : โรงเรียนบ้านห้วยทราย. อัดสำเนา.
วงเดือน คู่เมือง. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) ที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการกับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
ศุภณรรฎฐ์ บุญซ้อน. (2541). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานเกษตรพื้นฐาน เรื่อง การปลูกกุหลาบ โดยวิธีการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งประเมินผลการเรียนด้วยแฟ้มสะสมงานกับวิธีการสอนแบบบรรยายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาหลวง และโรงเรียนบ้านดอนชัย จังหวัดแพร่. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมบูรณ์ ตันยะ. (2555). วิทยาทางการการวิจัย. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
สมแสง อรัญญวาศรี. (2552). การศึกษาเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย หน่วยศิลปะการใช้ถ้อยคำเพื่อสื่อสารในการอาชีพของนักศึกษาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีวศึกษาจังหวัดสระแก้ว จากการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบสอดแทรก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). สุดยอดวิธีสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมนำไปสู่...การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.
สุชาดา ชวลิตปัญญา. (2548). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าสาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
สุภาวดี เสารีคตกุล. (2547). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนบูรณาการแบบสอดแทรก (INFUSION). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.