การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • วาทิตย์ สมุทรศรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คชากฤษ เหลี่ยมไธสง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สถิติพงษ์ เอื้ออารีมิตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์, ความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ ประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนก่อน-หลังใช้สื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ และศึกษาความพึงพอใจหลังใช้สื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ โดยวิธีวิจัยเชิงทดลอง ประชากรคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 7 ห้อง รวม 207 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มโดยครูประจำชั้นเป็นผู้เลือกสุ่มนักเรียนตามเกรดเฉลี่ย สูง ปานกลาง และต่ำ จำนวน 7 ห้อง ห้องละ 5 คน รวม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ สื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้สถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า วิดีโอเหตุการณ์จำลองที่ใช้ตัวละครและภาพเคลื่อนไหวด้วยการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เป็นพิธีกรดำเนินเรื่องอธิบายเนื้อหาตามโครงสร้างความฉลาดทางอารมณ์ที่กำหนดขึ้น มีเมนูการเลือกคำตอบและคำตอบจะเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ ยอมรับผิด โยนความผิด และ ทำเป็นไม่รู้ โดยรวมมีคุณภาพดีมาก สื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85/94 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลความฉลาดทางอารมณ์ที่พัฒนาขึ้นร้อยละ 68.36 และหลังการใช้สื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ดังนั้น จึงสามารถนำสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาได้

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ เด็กอายุ 6-11 ปี สำหรับครู. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมสุขภาพจิต. (2554). คู่มือความรู้เพื่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กอายุ 3-11 ปี สำหรับพ่อแม่. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมสุขภาพจิต. (2559). ผลการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา(IQ) และความฉลาดทางอารมณ์(EQ) ในเด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ.2559 ผู้ใช้ระบบ. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2560, จาก http://rajanukul.go.th
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-19.
ณัฐภณ สุเมธอธิคม. (2554). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การจัดแสงเพื่องานออกอากาศ ระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
นงค์นุช พัฒนพงศ์. (2550). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ พื้นที่ภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.
ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล. (2555). EQ ซ่อมได้. จุลสารธรรมศาสตร์, 45(6), 2-3.
ภัทรพรรณ ปุยะติ. (2558). รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียโดยเทคนิคภาพป๊อบอัพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย. (2559). ข้อมูลนักเรียนปีการศึกษา 2559. กาฬสินธุ์ : งานข้อมูลสารสนเทศ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย.
ลัลน์ลลิต สืบประดิษฐ์ และคณะ. (2551). เปรียบเทียบผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ที่มีสถานการณ์จำลองประกอบบทเรียนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับการสอนปกติ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วารสารวิชาการคณะศึกษาศาสตร์, 9(2), 69-74.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ผู้นำที่ฉลาดรู้ทางอารมณ์ ในภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซปอร์ตเน็ต.
สุพรรณษา ครุฑเงิน. (2555). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
สุรเชษฐ์ มีฤทธิ์. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ ภาษามือไทย เรื่อง ทฤษฎีสี สำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2555). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. ใน เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ สำหรับครู ICT ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 (หน้า 14-17). แพร่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 2.
อนรรฆนีติ์ งามอุษาวรรณ. (2550). การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ สําหรับประเมินความฉลาดทางอารมณของเด็กชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing (5th ed.). New York : Harper Collins.
Holcomb, T. L. (1992). Multimedia Encyclopedia of Computer. New York : Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01