การศึกษาคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ปทุมไฉไล สิงหนาท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, จิตสาธารณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำแนกตามเพศและระดับชั้น ประกอบด้วยด้านการใช้ ด้านการถือเป็นหน้าที่ และด้านการเคารพสิทธิ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 387 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี และ นักเรียนที่มีเพศและระดับชั้นต่างกัน มีคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า เพศและระดับชั้นไม่ส่งผลต่อคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กลิ่น สระทองเนียม. (2552). วิธีการสร้างเยาวชนให้เกิดจิตสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2558, จากhttp://news.sanook.com/education/education_39824.ph
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : ชมรมเด็ก.
เปรี่ยมศรี เศรษฐพรรค์. (2553). ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการทำงานจิตอาสาของเยาวชน SOSของเสถียรธรรมสถาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
มณีรัตน์ นุชชาติ. (2553). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2555). ตามรอยพระราชดำริสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
ศศิธร รอดย้อย. (2558). การพัฒนาแบบวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมินทางศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สุคนธ์ธา เส็งเจริญ. (2556). การเปรียบเทียบคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
สุริยเดว ทรีปาตี. (2551). ต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร : แผนงานสุขภาพเด็กและเยาวชน สํานักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2559). ข้อมูลสารสนเทศสำนักงานมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2559, จาก http://www.secondary.obec.go.th/information.25469=17
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง.
นะดา ศศิรพา. (2553). ศึกษาจิตสาธารณะและความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ศิริพิมล รักษามิตร์. (2555). การศึกษาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพมหานคร.
Likert, R. (1976). New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01