การศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้รายวิชาการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน สำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • kanokkorn medtajit Department of counseling psychology and guidance,Faculty of Education,Nakhon Ratchasima.

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.23

คำสำคัญ:

การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน, การส่งเสริม, การเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและปัญหาการจัดการเรียนรู้และหาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 4-5 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2559 ภาคปกติ ที่ลงทะเบียนเรียนและเรียนผ่านในรายวิชาการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนแล้ว กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 1 ห้อง จำนวน 37 คน ใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการทดสอบคุณภาพได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.93-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า การประเมินผลลักษณะและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมและรายมิติอยู่ในระดับมาก และแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ มิติที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมที่ควรส่งเสริม มีเครื่องมือในการติดตามผล สอดแทรกทฤษฎีพัฒนาการของผู้เรียน และการดำเนินโครงการเพื่อนที่ปรึกษา มิติที่ 2 ส่งเสริมความรู้ การเขียนแผนเก็บรวบรวมข้อมูล ฝึกปฏิบัติ และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับกิจกรรม มิติที่ 3 การยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย การเขียนแผนเป็นขั้นตอนและให้ข้อมูลย้อนกลับ สำรวจตัวเสริมแรง จัดกลุ่มกิจกรรมให้เหมาะสม ออกแบบให้คิดสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมในการจัดหาและนำเสนอข้อมูล และมิติที่ 4 ให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือนักเรียน การบูรณาการเนื้อหาสาระไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริง และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

References

Academic Promotion and Registration Office. (2016). Academic. Retrieved May 17, 2019, from https://reg.nrru.ac.th/registrar/grade_entry_0.asp?classacadyear=2559&avs1068290842=113 (In Thai)
Dachakupt, P., & Yindeesuk, P. (2017). 7C Skill of Teachers 4.0. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)
Faculty of Education. (2012). Bachelor of Education Program in Counseling Psychology and Guidance-Thai Languag. Nakhonratchasima : Nakhonratchasima Rajabhat University. (In Thai)
Jaithiang, A. (2007). Principles of Teaching (4th ed.). Bangkok : Odian Store. (In Thai)
Limaree, P. (1990). Introduction to guidance. Bangkok : Odian Store. (In Thai)
Mekkhachorn, N. (2014). Guidance in Elementary Education. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University Printing House. (In Thai)
Nontapa, R. (2016). Features of the Teacher to the Students Impressed: Master of Teacher. FEU Academic Review, 10(2), 142-153. (In Thai)
Noppornchrenkul, W., & Adulkasem, S. (2018). The effect of using positive reinforcement to increase responsible behavior of undergraduate student . Veridian E-Journal, 11(1), 952-970. (In Thai)
Office of the National Economic and Social Development Board (NESDB). (2011). The Eleventh National Economic and Social Development Plan (2012-2016). Retrieved May 17, 2019, from https://www.nesdb.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf (In Thai)
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Sangprasit, S. (2013). Educational Psychology. Nakhonratchasima : Nakhonratchasima Rajabhat University. (In Thai)
Srisa-ard, B. (2013). Preliminary Research (9th ed.). Bangkok : Suriwiyasan Printing. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

How to Cite

medtajit, kanokkorn. (2019). การศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้รายวิชาการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน สำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(2), 27–38. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.23