การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบและตกแต่งโมเดล และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
DOI:
https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.39คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน, ความสามารถในการสร้างสรรค์ ชิ้นงาน, ความคิดสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และความสามารถในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของนักเรียนหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ “การออกแบบและตกแต่งโมเดล” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ก่อนเรียนและหลังเรียน ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบและตกแต่งโมเดล จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 3 กิจกรรม และแบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบและตกแต่งโมเดล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 13.53 คิดเป็นร้อยละ 33.83 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 34.37 คิดเป็นร้อยละ 85.92 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบและตกแต่งโมเดล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบและตกแต่งโมเดล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ความสามารถในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบและตกแต่งโมเดล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานอยู่ในระดับดีมาก และ 5) ความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Dhithjaroen, C. (2013). The development of creative thinking and achievement for grade 12 students using project learning base on constructionism programing of an apply robot subject. A Thesis for Master of Education degree in Curriculm and Instruction program, Khonkaen University, Khonkaen. (In Thai)
Jekawatana, S. (2013). An instructional process using constructionism theory in teaching computer graphic for vocational certificate students. A Thesis for Master of Education degree in Educational Technology program, Burapha University, Chonburi. (In Thai)
Khaemmanee, T. (2016). Teaching approach (29rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (In Thai)
Laoriendee, W. (2014). Teaching approach and critical thinking development learning strategy (2rd ed.). Nakhon Pathom : Silpakorn University Printinghouse (In Thai)
Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E.2551. Bangkok : The agricultural cooperative Federation of Thailand.Limited. (In Thai)
MoolPom, D. (2016). A development of multimedia-based learning based on constructionism for enhancing matayomsuksa vi students’ problem solving skills. A Thesis for Master of Education degree in Science Educaton program, Naresuan University, Phitsanulok. (In Thai)
Panmanee, A. (2014). Critical thinking Practice and Creative thinking. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)
Papert, S. (1999). Introduction: what is Logo? And who need it? In logo philoslphy and implementation. Highgate Springs, Vemont:LCSI, 16.
Parnit, W. (2012). Teaching instructional for the twenty first century. Bangkok : Tathata Publication. (In Thai)
Phuttharaksa, S. (2014). The development of web-based instruction using constructionism theory on electronic book construction fot mathayomsuksa I students. A Thesis for Master of Education degree in Science Education program, Naresuan University, Phitsanulok. (In Thai)
Pornkun, C. (2011). How to choose the best preschool your child (29rd ed.). Bangkok : Vprint (1991). (In Thai)
Sariwat, L. (2014). Psychology for Teachers. Bangkok : O. S. Printing House. (In Thai)
Sriboonyanon School. (2017). The report of the quality of education development in academic year of 2015-2016. Nonthaburi : The academic affair of Sriboonyanon school. (In Thai)
Srisa-ard, B. (2013). Basic Research (9rd ed.). Bangkok : Suviriyasarn. (In Thai)
Stager, S. G. (2001). Constructionism as a High-Tech Intervention Strategy for At-Risk Learners. In National Educational Conference “Buliding on the Future”. Retrieved July 25-27, 2001, from http://www.stager.org/articles/necc2001paper.pdf
Supsaman, P. (2007). Learning management for learning (2rd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)
Torrance, E. P. (1973). Encouranging Creative in the Classroom. Iowa : Wm C. BrowWallach.
Tunya, S. (2012). Educational research method. Nakhon Ratchasima : Nakhonratchasima Rajabhat University. (In Thai)