รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ

ผู้แต่ง

  • Thitima Ongthong Faculty of Fine and Applied Arts

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.50

คำสำคัญ:

รูปแบบนาฏยศิลป์สร้างสรรค์, สถาปัตยกรรม, มหาสถูปบุโรพุทโธ

บทคัดย่อ

   

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ งานวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยสร้างสรรค์

            ผลจากการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธเป็นผลงานในรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่สามารถแบ่งตามองค์ประกอบการแสดงได้ 8 ประการ คือ 1) บทการแสดง แบ่งเป็น 3 องก์ ได้แก่ องก์ 1 กามภูมิ องก์ 2 รูปภูมิ และองก์ 3 อรูปภูมิ 2) การคัดเลือกนักแสดงคัดเลือกจากนักแสดงที่มีทักษะและประสบการณ์การเต้นที่หลากหลาย 3) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ใช้ทักษะการเต้นที่หลากหลายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแต่งกายในบทบาทนักท่องเที่ยวที่ใช้เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันที่หลากหลาย และการแต่งกายในการแสดงหลักที่ใช้เครื่องแต่งกายที่มีความเรียบง่ายตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่ 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในชีวิตประจำวัน 6) การออกแบบดนตรีและเสียงประกอบได้สร้างสรรค์เพลงขึ้นใหม่ 7) การออกแบบฉากและพื้นที่การแสดงใช้ฉากโครงสร้างแผนผังบุโรพุทโธ และจัดแสดง ณ โรงละครแบล็ค บ๊อกซ์ เธียร์เตอร์ 8) การออกแบบแสงเพื่อสร้างมิติให้กับสัดส่วนของฉาก และส่งเสริมการสื่ออารมณ์ ลีลาท่าการเคลื่อนไหวของนักแสดงให้ชัดเจนมากขึ้น

References

Charassri, N. (Mr.). (2018, 8 June). Research Professor of Chulalongkorn University. Interview. (In Thai)

Dhammabutra, N. (2018). The Spirit of ASEAN for Quintet Piano Band. Bangkok : Thanapress. (In Thai)

Ditsakul, S. (1975). The Ancient Indonesian Arts. Bangkok : Suksapan Panit. (In Thai)

Haryono, T. (Mr.). (2018, 12 April). Archeoogy lecturer at Gajah Mada University and Performance Consultant for Mahakarya Borobudur dance drama. Interview.

Intarawut, P. (2000). Buddhist figure in Mahayana Buddhism. Bangko k: Akson Samai Printing House. (In Thai)

Mahanarongchai, S. (2007). Mahayana Buddhism (2nd ed.). Bangkok : Siam Press. (In Thai)

Miksic, J. N. (1990). Borobudur: Golden Tales of the Buddha. Hong Kong : Periplus Editions (HK).

Nattayakul, N. (2006). Dance Kinesiology. Bangkok : Odeon Store Publishing. (In Thai)

Pimsan, P. (Miss). (2018, 8 October). Lecturer at Suansunandha University. Interview. (In Thai)

Smith, J. M. (2004). Dance Composition. London : A & C Black.

Snodgrass, A. et al. (1993). The Signature of Stupa. . Bangkok: Amarin Printing & Publishing. (In Thai)

Thongprasert, J. (2011). The History of Buddhism in Southeast Asia (3rd ed.). Bangkok : Duangkaew Publishing. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

Ongthong, T. (2019). รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสถาปัตยกรรมของมหาสถูปบุโรพุทโธ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(3), 123–136. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.50