การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การแก้ปัญหาด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอสร่วมกับคำถามที่เน้นการรู้คิด

ผู้แต่ง

  • พรนัชชา รมย์นุกูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.56

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหากลวิธีเอฟโอพีเอส, คำถามที่เน้นการรู้คิด, บทประยุกต์

บทคัดย่อ

        

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การแก้ปัญหาด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอสร่วมกับคำถามที่เน้นการรู้คิด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การแก้ปัญหาด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอสร่วมกับคำถามที่เน้นการรู้คิด ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านด่านเกวียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 33 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน ทำการสอนแผนละ 1 คาบเรียน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 จำนวน 15 ข้อ ทำการคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.31-0.44 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.56-0.78 และค่าความชื่อมั่น 0.87 จำนวน 8 ข้อ 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

            ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การแก้ปัญหาด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอสร่วมกับคำถามที่เน้นการรู้คิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การแก้ปัญหาด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส ร่วมกับคำถามที่เน้นการรู้คิด หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Ban Dan Kwian School. (2017). Basic national test report (O-Net) Ban Dan Kwian School B.E. 2558-2560 (A.D. 2015-2017). Nakhon Ratchasima : Ban Dan Kwian School. (In Thai)

Buachamrat, A. (2017). Study of problem solving ability and mathematical communicaton ability on application of linear equations to one variable of Mathayom Suksa 2 students using FPS strategies. Master of Science thesis Mathematics Education College Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Nakhon Ratchasima. (In Thai)

Erktin, E. (2015). “Enhancing Mathematics Achievement of Elementary School Students through Homework Assignments Enriched with Metacognitive Question”. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 11(6), 1415-1427.

Jitendra, A. K, Kathryn, H., & Michelle, M. B. (1999). “Teaching middle school students with learning disabilities to solve word problems using a schema-based approach”. Remedial and Special Education, 20(1), 50-64.

Jitendra, A. K., & Griffin C. C. (2009). “Word problem-solving instruction in inclusive third-grade mathematics classroom.” The Journal of Education Research, 102(3), 187-201.

Jitendra, A. K., & Holf, K. (1996). The Effects of Schema-Based Instruction on the Mathematical Word-Problem-Solving Performance of Students with Learning Disabilities. Journal of Learning Disabilities, 29(4), 422-431.

Jitendra, A. K., & Star, J. R. (2011). “Meeting the needs of students with learning disabilities in inclusive mathematics classroom : The role of schema-based instruction on mathematical problem-solving.” Theory into Practice, 50, 12-19.

Kennedy, L. M., & Tipp, S. (1994). Guiding Children Learning of Mathematics 1994. Belmont, California : Wadsworth Publishing.

Maokanong, A. (2004). Conceptual understanding: the focus of mathematics teaching. In Pornphanan Udomsin and Amporn Maokanong (Editor), composing articles, principles and guidelines for learning management Group learning mathematics. Bangkok : The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited. (In Thai)

_______. (2011). Mathematical skills and processes: development for development. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Mevarech, Z. R., & Kramarski, B. (1997). IMPROVE: A Multidimensional Method for Teaching Mathematics in Heterogeneous Classrooms. American Educational Research Journal, 34(2), 365-394.

Na, K. E. (2009). The effects of schema-based intervention on the mathematical word problem solving skills of middle school students with learning disabilities. Ed.D. Philosophy, University of Texas at Austin.

Office of the Basic Education Commission. (2010). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok : The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited. (In Thai)

Rockwell, S. B. (2012). Teaching students with autism to solve additive word problem using schema-based strategy instruction. Ed.D. Philosophy, University of Florida.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

รมย์นุกูล พ. (2019). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การแก้ปัญหาด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอสร่วมกับคำถามที่เน้นการรู้คิด. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(3), 199–211. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.56