การสร้างคนต้นแบบในฟาร์มเกษตรผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • เอกราช หนูแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เอกรัตน์ เอกศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.1

คำสำคัญ:

คนต้นแบบ, ฟาร์มเกษตรผสมผสาน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจต่อความต้องการของเกษตรกร เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เพื่อสร้างเครือข่าย และเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงาน ของคนต้นแบบรุ่นเดิมและรุ่นใหม่ฟาร์มเกษตรผสมผสาน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา การเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินผล และข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบเชิงปริมาณ และเชิงพรรณนา

            ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีความต้องการต่อปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.44, S.D.=0.73) ด้านการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ แบ่งได้ 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการ และ 3) ระยะการประเมินผล ซึ่งพบว่ามีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.=0.67)  ด้านการสร้างเครือข่าย แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการสร้างและจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ระยะที่ 2 การดำเนินการสร้างและจัดตั้งเครือข่ายต้นแบบ และระยะที่ 3 การพัฒนาเครือข่าย และผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานต่อฟาร์มเกษตรผสมผสานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.43, S.D.=0.73) จึงมีข้อเสนอแนะให้พัฒนาคนต้นแบบรุ่นเดิมและรุ่นใหม่ฟาร์มเกษตรผสมผสานและเครือข่ายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

References

เกริกไกร แก้วล้วน และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ : กรณีศึกษาการพัฒนาองค์ความรู้โดยเกษตรกร จังหวัดอำนาจเจริญ (รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จำเนียร ชุณหโสภาค และคณะ. (2551). การพัฒนาศักยภาพด้านความรู้เศรษฐกิจพอเพียงของผู้นำชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชวลิต สวัสดิ์ผล และคณะ. 2556. การพัฒนาตัวชี้วัดระดับการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำห้วยทอน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ไชยรัตน์ ปราณี และคณะ. (2550). โครงการวิจัยเดินตามพ่อ : การจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ของเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน: ศึกษากรณีโจทย์ปัญหาของเกษตรกรและเครือข่ายเกษตรกรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ทนงศักดิ์ วันชัย และกุหรั่ง สุปินราช. (2553). การศึกษาการดำเนินชีวิตของเกษตรกรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
เทอดศักดิ์ คำเหม็ง. (2551) การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระบบการเกษตรทฤษฎีใหม่ ของกลุ่มเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธวัชชัย เพ็งพินิจ และคณะ. (2556). การพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จต้นแบบเกษตรพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย : แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
ประเวทย์ ใจฟั่น และสุกัญญา ใจฝั้น. (2556). การศึกษารูปแบบการรวมกลุ่มและการเชื่อมโยงสู่ตลาดอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่ศูนย์นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ประสงค์ ทันศรี. (2551) การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาอำเภอธารโต จังหวัดยะลา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รัตนา คัมภิรานนท์ และคณะ. (2551). วิธีคิด ความเข้าใจ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตและหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนในการบูรณาการวิชาชีพ สังคมและสิ่งแวดล้อม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
วิทยา เมฆขำ, ปรุงศักดิ์ อัตพุฒ และเบญจลักษณ์ เมืองมีศรี. (2551). การถ่ายทอดแนวทางการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนนทบุรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศักดิ์เจริญ ภวภูตานนท์ และคณะ. (2557). แนวทางการทำงานแบบบูรณาการของหน่วยงาน องค์กรเพื่อนำไปสู่การสร้างแกนนำต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
สรชัย พิศาลบุตร, เสาวรส ใหญ่สว่าง และปรีชา อัศวเดชานุกร. (2549). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพมหานคร : วิทยพัฒน์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา. (2560). รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวม. นครราชสีมา : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

หนูแก้ว เ., & เอกศาสตร์ เ. (2019). การสร้างคนต้นแบบในฟาร์มเกษตรผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.1