การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานกับการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และพฤติกรรมทางการเรียนในรายวิชาการวิจัยด้านสื่อสารมวลชน สาระการเรียนรู้เรื่องการทบทวนวรรณกรรม
DOI:
https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.6คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน, การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์, พฤติกรรมทางการเรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการวิจัยด้านสื่อสารมวลชน สาระการเรียนรู้เรื่องการทบทวนวรรณกรรม 2) ศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ในส่วนการศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และศึกษาพฤติกรรม เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน (IOC=0.67-1.00) วิเคราะห์ผลหาค่า t-test และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน (IOC=0.67-1.00) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ (IOC=0.67-1.00, α=0.89) กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้อง 30 คน วิเคราะห์ผลหาการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษา 30 คน มีคะแนนการทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 16 คน ส่วนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมดที่ระดับเกณฑ์ผลการเรียนรู้ดีเยี่ยม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักศึกษาทั้งหมดสามารถทำการสังเคราะห์การทบทวนวรรณกรรมและเรียบเรียงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมทั้งด้านความตรงต่อเวลา ด้านการเตรียมตัว ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการแสดงความคิดเห็น/ข้อซักถาม และด้านการแสดงอากัปกิริยาต่าง ๆ ในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งหมด และมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL) อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D.=0.57)
References
กัลยาณี ชูศรีวัน. (2555). การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน (ส 33102) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid= 246050
เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน. (2556). การกํากับดูแลตนเองในการคัดสรรข่าวอาชญากรรมหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
________. (2557). การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนแบบ RBL ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา : กรณีศึกษารายวิชาการโฆษณาและพฤติกรรมผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://www.fmsweb.nrru.ac.th/home/research/public_html/images/stories/Research-2559/Teacher-Research/In-Research/RBL/2558/2.rbl-58.pdf
________. (2558). การปฏิรูปกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) ในรายวิชา 317350 สารคดีเพื่อการสื่อสารมวลชน (Feature for Mass Communication). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จากhttps://www.fmsweb.nrru.ac.th/home/research/public_html/index.php?option =com_content&view=article&id=396:-problem--based-learning--pbl--317350--feature-for-mass-communication&catid=65:2557-2558 &Itemid=133
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. (2549). การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการรายวิชาระบบ e-Learning ตามแนวการเรียนรูโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา.
________. (2555). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียนันท์ สิทธิจินดา. (2552). ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย...วิจัยนอกชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://www.node.rbru.ac.th/article/article31.pdf
พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2555). การพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในรายวิชา 515707 นวัตกรรมและเทคโนโลยีในงานสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 5, 97-105.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3. (2553). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Phichittra_Teesuka_Doctor/fulltext.pdf
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : วี.พริ้น (1991).
วิภาวี ศรีทาสร้อย. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน : กรณีศึกษารายวิชา 201-305 วิธีวิจัยธุรกิจ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2555. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://dlc.hu.ac.th /Backup_library/Research/swipawee.pdf
วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชา BUS304 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ (Business Research). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://www.spu.ac.th/tlc/files/2013/07/BUS-304pdf
ศินีนาฎ กำภูศิริ. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4, 88-96.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2540). การสอนแบบ Research-Based Learning ในแบบแผนและเครื่องมือวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินคุณภาพการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://www.moe.go.th/hp-vichai/ex-prb05-4.htm
สินธะวา คามดิษฐ์. (2557). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในระดับอุดมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28, 10-21.
สุชาดา ปุญปัน. (2548). ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : กรณีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/178211
อํารุง จันทวานิช. (2548). กฎหมายและขอบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพของการจัดการศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
Srikoon, S., Bunterm, T., Samranjai, J., & Wattanathorn, J. (2014). Research synthesis of research-based learning for education in Thailand. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 2, 913–917.