การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์และอุปทานของการท่องเที่ยวทางพุทธศิลป์ ในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีม
DOI:
https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.7คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวทางพุทธศิลป์, อุปสงค์ทางการท่องเที่ยวทางพุทธศิลป์, อุปทานทางการท่องเที่ยวทางพุทธศิลป์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและความต้องการของนักท่องเที่ยว ความพร้อมของวัดในการท่องเที่ยวทางพุทธศิลป์ และเสนอแนวทางการจัดเส้นทางการเที่ยวทางพุทธศิลป์ (ปักธงชัย-ลำพระเพลิง) อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ประชากร คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น (ค่า IOC=0.67-100) ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุที่จำพรรษา ณ วัดในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 10 วัด รวม 79 รูป ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วัดละ 1 รูป รวม 10 รูป โดยใช้แบบสำรวจวัดและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปเนื้อหาและแบ่งเป็นหมวดหมู่ ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.=0.70) และภาพรวมต้องการให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธศิลป์อยู่ในระดับมาก ( =4.11, S.D.=0.72) จากการสัมภาษณ์ พบว่า ร้อยละ 100 มีความพร้อมที่จะส่งเสริมให้วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โดยควรมีการจัดการด้าน การปรับภูมิทัศน์ ความสะอาด ความปลอดภัย ป้ายบอกทาง การจัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ วางแผนการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และควรมีการจัดเส้นทางท่องเที่ยวทางพุทธศิลป์ที่เชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและสามารถเดินทางได้ในหนึ่งวัน
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ฉลอง พันธ์จันทร์ (2561). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวิปัสสนากรรมฐานของนักท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานตอนกลาง กรณีจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(1), 243-267.
ชลดา แสนคำเรือง และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยว: กรณีศึกษา การท่องเที่ยวในจังหวัดเลย. วารสารการเงิน การลงทุน และการบริหารธุรกิจ, 3(4), 223-242.
นิศา ชัชกุล. (2559). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทีป พืชทองหลาง. (2558). เส้นทางท่องเที่ยวเชิงศาสนาประเภทเจดีย์และพระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์, 9(2-4), 111-123.
ปรีดา ไชยา. (2558). การท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(2016), 223-241.
พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(21), 35-49.
พระปลัดบุญเลิศ กตปุญฺโญ (สุทธิมาลย์). (2560). การจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ : กรณีศึกษาวัดใหญ่ บางปลากด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ และคณะ. (2560). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธกับการเสริมสร้างจิตสานึกสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3).
สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดนครราชสีมา. (2561). บัญชีรายชื่อวัดในจังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, จาก https://sites.google.com/a/secondary33.go.th/sanakngan-phraphuthth-sasna-canghwad-nkhrrachsima/ baychi-ray-chux-wad-ni-canghwad-nkhrrachsima-pi2560
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. (2559). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2559, จาก http://district.cdd.go.th/pakthongchai/about-us/ประวัติความเป็นมา/
อนันต์ เชี่ยวชาญกิจการ. (2553). หลักการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
World Travel & Tourism Council (2017). Travel & Tourism Economic Impact 2017 World. Retrieved December 18, 2018, from https://www.wttc.org/-/media/files/reports/economic-impact-research/ regions-2017/world2017.pdf
Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York : Harper and Row.