ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงพยาบาลเอกชน

ผู้แต่ง

  • ปานชนก โชติวิวัฒน์กุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.12

คำสำคัญ:

การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ, โรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ประชากรคือพนักงานระดับปฏิบัติการ ประกอบด้วย พยาบาล และพนักงานทั่วไป (ไม่นับรวมแพทย์) จำนวน 3,525 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane ใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนแบบแบ่งช่วงชั้นด้วยการสุ่มแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

            ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงทุกตัวแปร เริ่มจาก การรับรู้ความยุติธรรมจากองค์การ ( =3.81, S.D.=0.48) รองลงมาคือ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ( =3.71, S.D.=0.48) และความผูกพันต่อองค์การ ( =3.61, S.D.=0.53) สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานทั้ง 3 ข้อ พบว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การด้านการได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ด้านผลตอบแทนองค์การและสภาพการทำงาน และด้านความมั่นคงในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความยุติธรรมจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การ รวมทั้งการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การด้านการได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ด้านผลตอบแทนองค์การและสภาพการทำงาน และด้านความมั่นคงในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความยุติธรรมจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรุงเทพดุสิตเวชการ. (2558). บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 106/2558. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2558, จาก http://investor.bangkokhospital.com/th/downloads/credit-rating
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภัสวรรณ ไทยานันท์. (2557). ความยุติธรรมกับKMในองค์การ. โปรดักทิวิตี้ เวิลด์ (Productivity world, 19(109), 52-55.
พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์. (2553). คุณลักษณะของบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนด้านอาชีพ ความพึงพอใจในงาน กับความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พนิดา อิ่มณรัญ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษาพนักงานของบริษัท โดนัลด์สัน (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมใน องค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
รชฎ ชยสดมภ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ พฤติกรรมการเป็น พนักงานที่ดีขององค์การ และความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิต ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมด้านผลลัพธ์และด้านกระบวนการกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและผลการปฎิบัตงานตามบทบาทหน้าที่ผ่านการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 30(2), 65.
สันต์ฤทัย ลิ่มวีรพันธ์. (2550). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ (Employee Engagement )กรณีศึกษา บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
Eisenberger, R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived Organization Support. Journal of Applied Psychology, 71, 500-507.
Folger, R., & Cropanzano, R. (1998). Organizational justice and human resource management. CA : Sage.
Kidwell, R. E. , & Mossholder, K. W. (1997). Cohesiveness and organizational citizenship behavior: A multilevel analysis using work groups and individuals-A Special Issue: Focus on Hierarchical Linear Modeling. Journal of Management, 6(23), 25-35.
Mathumbu, D., & Dodd, N. (2013). Perceived Organizational Support, Work Engagement and Organizational Commitment of Nursesat Victoria Hospital. Journal of Psychology, 4(2), 87-93.
Moorman, R. H., Blakely, G. L., & Niehoff, B. P. (1998). Does perceived organizational support mediate the relationship between procedural justice and organizational citizenship behavior. Academy of Management Journal, 41(3), 351-357.
Rhoddes, L., & Eisenberger, R. (2002). Perceived organization support: A Review of the Literature. Journal of Applied Psychology, 698-714.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

โชติวิวัฒน์กุล ป. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงพยาบาลเอกชน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 154–166. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.12