การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองปลาหมอพิทยาคมอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • นพดล แสงสิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อินทิรา รอบรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.13

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบทดสอบกลุ่มเดียวก่อน-หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.67-1.00 ดำเนินการสอนตามบทเรียนมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์มีค่าความยากง่าย (p) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.47-0.70  ค่าอำนาจจำแนก (r) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20-0.67 และ ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีการของ Kuder-Richardson Method ตามสูตร KR-20 โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 87.17/85.70 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ระหว่างการทำกิจกรรม 3 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 87.17 ของคะแนนทั้งหมด และคะแนนจากการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์คิดเป็นร้อยละ 85.70 ของคะแนนทั้งหมด สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 7.97 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.11 คะแนน ส่วนคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่า 16.93 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.68 คะแนน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
________. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
ชัยวัฒน์ สุทธิวัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนร้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชัน.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การพัฒนานักศึกษาสู่ Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559, จาก http://www.moe.go.th/mobile1/viewNews.php?nCatId=news_act&moe_mod_news_ID=46900
เยาวลักษณ์ พรมศรี. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคนิคการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.
วัชรา ญาณปัญญา. (2551). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง ทฤษฏีกราฟเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
วาสนา กิ่มเทิ้ง. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
วิไลวรรณ พงษ์ชุบ. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
อรรณพ ชุ่มเพ็งพันธ์. (2550). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องสารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). “The theory of the estimation of test reliability.” Psychophysiology, 2, 151-160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

แสงสิน น., & รอบรู้ อ. (2019). การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองปลาหมอพิทยาคมอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 167–177. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.13