การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้รักษ์สิ่งแวดล้อม และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ใจกล้า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วาสนา กีรติจำเริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.14

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุดตาดำ (คงฤทธิ์คุรุราษฎร์สามัคคี) อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 39 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.33 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา มีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test for dependent and t-test for sample) ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชไมพร เลากลาง, วาสนา กีรติจำเริญ และวิราวรรณ์ ชาติบุตร. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้พืชมีการตอบสนองและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. ใน การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 “การเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างศาสตร์ระดับบัณฑิตศึกษา”. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2554). การสอนการคิด. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
นันทนา ฐานวิเศษ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(2), 43-50.
นิจวรรณ พิมคีรี. (2555). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหา เป็นฐาน (PBL). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
บุญชุม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เอร์พริ้นติ้ง.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ เมื่อ 28 มิถุนายน 2560, จาก http://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=3005
รัชฎาพร สิงคิบุตร. (2557). ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
โรงเรียนกุดตาดำ (คงฤทธิ์คุรุราษฎร์สามัคคี). (2558). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุดตาดำ (คงฤทธิ์คุรุราษฎร์สามัคคี) ฉบับปรับปรุงกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. นครราชสีมา : เอกสารอัดสำเนา.
________. (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). เอกสารอัดสำเนา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/index_area.php?Area_CODE =3006
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อนันต์ ธะสุข. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
Choi, E., Lindquist, R., & Song, Y. (2014). Effects of problem-based learning vs. traditional lecture on Korean nursing students' critical thinking, problem solving, and self-directed learning. Nurse Education Today, 34(1), 52-56.
Ebel, R. L., & Frisbie, D. A. (1986). Essentials of Educational Measurement. New Jersey : Prentice-Hall.
Hmelo, C. E., & Lin, X. (2000). Becoming self-directed learners: Strategy development in problem-based learning. In D. H. Evensen & C. E. Hmelo (Eds.), Problem-based learning: A research perspective on learning interactions (pp. 227-250). Mahwah, NJ : Lawrence Erlbaum Associates.
Hudgins, B. (1997). Learning and thinking. Lllinois : P. E. Peacock.
Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning : A guide for learners and teachers. Chicago : Follett.
Tandogan, R. O., & Orhan, A. (2007). The effects of problem-based active learning in science education on students' academic achievement, attitude and concept learning. Online Submission, 3(1), pp. 71-81.
Temel, S. (2014). The effects of problem-based learning on pre-service teachers' critical thinking dispositions and perceptions of problem-solving ability. South African Journal of Education, 34(1), 1-20.
Wilson, J. W., Fernandez, M. L., & Hadaway, N. (1993). Mathematical problem solving. In P. S. Wilson (Ed.), Research ideas for the classroom: High school mathematics (pp. 57-78). New York : MacMillan.
Wong, K. K. H. and J. R. Day. (2009). “A Comparative Study of Problem-Based and Lecture-Based Learning”. Junior Secondary School Science, 2(39), 625-642.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

ใจกล้า ส., & กีรติจำเริญ ว. (2019). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้รักษ์สิ่งแวดล้อม และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 178–190. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.14