การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำภาษาไทยที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด โดยใช้เกมการศึกษาภายใต้บริบทของเวียดนาม

ผู้แต่ง

  • Chau Cao Thi Minh มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วาสนา กีรติจำเริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.18

คำสำคัญ:

เกมการศึกษา, การเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด, การจัดการเรียนรู้, บริบทของเวียดนาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำภาษาไทยที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด โดยใช้เกมการศึกษาภายใต้บริบทของเวียดนาม 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำภาษาไทย ที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดโดยใช้เกมการศึกษาภายใต้บริบทของเวียดนาม ขั้นตอนการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างหน่วยการเรียนรู้ 2) การใช้หน่วยการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษา อยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สาขาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบมีจุดมุ่งหมาย (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความ พึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความเหมาะสมและความสอดคล้อง (IOC) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบหาค่าที (t-test for dependent และ t-test for one sample)

            ผลการศึกษา พบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น มีค่าดัชนีความเหมาะสมและความสอดคล้อง (IOC) ที่ 1.00 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( =16.95, S.D.=3.15) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( =16.95, S.D.=3.15) และ 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ( =4.83, S.D.=0.32)

References

เชียรศิริ วิวิธสิริ. (2537). จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ซวน ดิง ทิ่แทง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
ทิศนา แขมมณี. (2552). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. (ม.ป.ท.) : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิแหล่ง เวือง. (2559). การพัฒนาหลักสูตรภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา, นครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์. (2557). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง หัตถกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา.
ลำจวน กิติ. (2547). การใช้เกมเพื่อฝึกการเขียนสะกดคำยากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วรรณี โสมประยูร. (2539). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
วันชาติ เหมือนสน. (2546). เทคนิคการสอนเกม. สุพรรณบุรี : งานผลิตเอกสารและตำราฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี.
สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมบูรณ์ พงศาเทศ. (2550). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำยากวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เกม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). แนวคิดพื้นฐานทางการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสี่ยวหมิ่ง ลี่. (2559). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2538). คู่มือการสอนภาษาไทยกิจกรรมการเล่นประกอบการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
อุทัยวรรณ ปิ่นประชาสรร. (2557). กลวิธีการสอนภาษาไทยให้สนุก. กรุงเทพมหานคร : อิงค์ออนเปเปอร์.
อุษา สระสันเทียะ. (2559). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
Beena, A. (2011). Teaching vocabulary through game-a sanguine step. I-manager’s Journal on English language teaching, 1(4), 46-50. Retrieved September 15, 2016, from https://goo.gl/lS8op4
Hà Quang Năng. (2009). Vai trò của ngôn ngữ trong sự phát triển của xã hội. Tạp chí ngôn ngữ và đời sống, 9, 1-5. Hà Nội: Nhà xuất bản Viện ngôn ngữ.
Isabelle. (2015). Những sự thật thú vị về ngày ngôn ngữ Châu Âu, EF International Language Centers. Retrieved August 1, 2016, from http://www.ef.com.vn/blog/language/nhung-su-that-thu-vi-ve-ngay-ngon-ngu-chau-au/
Nguyễn Thị Thanh Huyền & Quách Thị Thu Nga. (n.d.). Learning vocabulary through game: The effectiveness of learning vocabulary through game. The Asian EFL Journal. Retrieved September 15, 2016, from http://asian-efl-journal.com/1493/quarterly-journal/2003/12/learning-vocabulary-through-games-the-effectiveness-of-learning-vocabulary-through-games/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

Thi Minh, C. C., & กีรติจำเริญ ว. (2019). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำภาษาไทยที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด โดยใช้เกมการศึกษาภายใต้บริบทของเวียดนาม. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 225–238. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.18