ผลของโปรแกรมสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อแรงจูงใจเพื่อป้องกันอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
DOI:
https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.19คำสำคัญ:
โปรแกรมสื่อสารความเสี่ยง, แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค, สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อแรงจูงใจเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร เลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเขตตำบลไทยสามัคคีเป็นกลุ่มทดลอง และตำบลห้วยหินเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ โดยยึดหลักการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มละ 30 คน ด้วยวิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แบบจับฉลากเลือก 1 หมู่บ้านต่อหนึ่งตำบล และครัวเรือนละ 1 คน รวม 60 คน ใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยง แบบสอบถามการรับรู้ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง แบบสอบถามการรับรู้ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง เลือกข้อคำถามที่ IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78, 0.79, 0.82, 0.78 และ 0.80 ตามลำดับ และโปรแกรมสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชการรับรู้ความรุนแรงของอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
ขวัญธิดา ทองภูบาล และคณะ. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรปลูกสวนยางพารา ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 9(2), 1-8
ทวีศักดิ์ สมบูรณ์. (2557). ผลของโปรแกรมเครือข่ายป้องกันตนเองของเกษตรกรในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มซาโปนินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
เนตรชนก เจริญสุข. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนาในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. Naresuan University Journal: Science and Technology, 24, 91-101.
วิระศักร์ ศรีเหล่า และคณะ. (2557). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรทำสวนยางพารา ตำบลหนองเลิง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 9(29), 112-122
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์. (2559). รายงานข้อมูลพื้นที่การเกษตร. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2559, จาก http://www.moac-info.net/modules/reports/I102.php
สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหงส์. (2559). รายงานข้อมูลพื้นฐานการเกษตรระดับอำเภอ. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2559, จาก http://nonghong.buriram.doae.go.th/pic/data%20basic.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ปริมาณการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2559, จาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว็บไซต์: http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=146
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2559). รายงานการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานอาชีวอนามัย (คลีนิคสุขภาพเกษตร). บุรีรัมย์ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหงส์. (2559). สรุปการตรวจหาสารเคมีในเลือดของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2559. บุรีรัมย์ : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหงส์.
สำนักระบาดวิทยา. (2556). รายงานสถานการณ์และผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2559, จาก http://epid.moph.go.th/wesr/file/y56/F56441_1384.pdf
อานัฐ ตันโช. (2551). เกษตรธรรมชาติประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
Best, J. W. (1977). Research in education. Eaglewood Cliff : Prentice Hall.
Bloom, S. B. (1975). Toxonomy of education objective handbook l cognitive domain. New York : David Mckay.
Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151–160.
Polit, D. F., & Beck, T. B. (2004).Nursing research.Principles and methods. Philadelphia : Lippincott Williams and Wilkins.
Rogers, R. W. (1983). Cognitive and Physiology processes in attitude change. A revised theory of protection motivation. In J.T. Cacioppo. Social Psychophysiology: A sourcebook. New York : Guilford Press.