ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบประสิทธิผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • Pornsak Ruekrisri คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • Jitti Kittilertpaisarn คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • Kanjana Vongsawut มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.34

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, ประสิทธิผลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของประสิทธิผล และหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบประสิทธิผลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 8 มีรูปแบบวิจัยเชิงผสมผสาน ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติและประชาชนผู้รับบริการในพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล จำนวน 3 แห่ง ทำการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบง่ายโดยวิธีการจับฉลาก จำนวน 417 คน ใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชียวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 ทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้สถิติโมเดลสมการโครงสร้าง

            ผลการวิจัย พบว่า มี 4 องค์ประกอบ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านบริการ ด้านวิชาการ และด้านการให้ความสำคัญกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยองค์ประกอบที่มีน้ำหนักมากที่สุด คือ ด้านวิชาการ รองลงมา ได้แก่ ด้านการให้ความสำคัญกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ด้านบริการ และด้านการบริหาร ตามลำดับ (b=0.75, 0.74, 0.65 และ 0.61) และความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบประสิทธิผลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 8 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติ X2=1.66, p=0.19, X2/df=1.66, RMSEA=0.01, CFI=0.99, TLI=0.99 และ SRMR=0.01 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนั้น การพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีความสำคัญในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีประสิทธิผล

References

Bureau of policy and strategy. (2016). Guideline for the star of sub-district health promotion hospital in Thailand. Nonthaburi : Ministry of public health. (In Thai)
_______. (2018). National strategic plan Public health 20 years (2017-2036). Nonthaburi : Ministry of public health. (In Thai)
Churat, C. (2018). Efficiency in service operation of Phattalung hospital. Journal of administrative and management, 26(2), 28-36. (In Thai)
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Effective behavior in organization. New York : McGraw-Hill.
Damrongpanich, S. (2012). Mplus for behavioral and social research data annaysis. Mahasarakham : Mahasarakham university. (In Thai)
Department of health service support. (2009). Primary Care Award : PCA. Bangkok : National assembly library of buddhism. (In Thai)
_______. (2016). Primary Care Unit quality assessment. Nonthaburi : Ministry of public health. (In Thai)
Etzioni, A. (1964). Modern Organizations. Englewood Cliffs. New York : McGraw-Hill.
Harold, K. (2017). Project management: A systems approach to planning, scheduling, and controlling. USA : Wiley.
Hoy, W. K., & Miskle, J. W. (1991). Education administration: Theory, research and practice. New York : McGraw-Hill.
Keith, D. (1972). Human behavior at work human relations and organization behavior. New York : Ew Planner.
Luksanawisit, J. (2010). Public policy and sub-district health promotion hospital expectations. Thai journal of nursing council, 25(1), 11-22. (In Thai)
Ministry of public health. (2014). Strategy, KPI and Guidelines for Ministry of public health 2015. Nonthaburi : Ministry of public health. (In Thai)
Naiphinit, A., Krirksakul, P., & Promsaka na sakon nakhon, T. (2014). Adjustment under globalization. SKRU academic journal, 7(1), 2-15. (In Thai)
Organization for Economic Co-operation and Development. (2014). OECD review of health care quality: Norway. Retrieved November 17, 2017, from https://www.oecd.org/publications /publications/oecd-reviews-of-health-care-quality-norway-2014-9789264208469-en.htm (In Thai)
Penchansky, R., & Thomas, W. (1981). The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. New York : McGraw-Hill.
Public health region 8th. (2017). The star of sub-district health promotion hospital health region 8th 2017. Udonthani : Public health region 8th. (In Thai)
Roland, D. M., Guthir, M. B., Chir, PhD., & Colin M. B. (2012). Primary medical care in the United Kingdom. J am board fam med, 25, 6-11.
Schein, E. H. (1970). Organizations Psychology (2nd ed.). New York : Prentice-Hall.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner guide to structural equation modeling (2nd ed.). New York : Taylor & Francis group.
Steers, R. M. (1977). Organizational effectiveness: a behavioral view. Santa Monica, CaliFornia : Goodyear Publishing.
Storbacka, K., & Lehtinen, J. (2001). Customer relationship management: Creating competitive advantage through win-win relationship strategies. McGraw-Hill Companies.
World Health Organization. (2010). Primary care evaluation tool. Retrieved November 10, 2017, from https://www.euro.who.int/en/health-topics/Health-systems/primary-health-care/publications/ 2010/primary-care-evaluation-tool-pcet.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

How to Cite

Ruekrisri, P., Kittilertpaisarn, J., & Vongsawut, K. (2019). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบประสิทธิผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 8. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(2), 167–178. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.34