การฟื้นฟู สืบสานและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทุนวัฒนธรรมอาหารไท-ยวน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.22คำสำคัญ:
คำสำคัญ : การฟื้นฟูและสืบสาน อาหารไท-ยวน สุขภาวะ เศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟู สืบสานและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทุนวัฒนธรรมอาหารไท-ยวนในการเสริมสร้างสุขภาวะและเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยภูมิปัญญาอาหารไท-ยวน จำนวน 10 คน ผู้นำท้องถิ่น จำนวน 5 คนและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐที่อยู่ในพื้นที่ จำนวน 3 คน
ผลการวิจัย 1) ด้านบริบทชุมชนพบว่าไทยวนสีคิ้วเป็นกลุ่มไทยยวนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาหารของชนชาติไท-ยวนเป็นอาหารพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์ และรสชาติมีความคล้ายคลึงกับอาหารภาคเหนือผสมกับอาหารภาคอีสาน 2) กระบวนการฟื้นฟูและสืบสานวัฒนธรรมอาหารไทยวนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 การวางแผน คณะผู้วิจัยได้เข้าร่วมประชุมกับภาคีในพื้นที่ พบว่า แนวทางการสืบสานวัฒนธรรมอาหารไทยวนในชุมชน คือการจัดทำตลาดบ้านยวน ในโรงเรียนคือการสอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาเรียน ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการ ได้ดำเนินการเปิดตลาดบ้านยวน ภูมิปัญญาอาหารนำอาหารไท-ยวน มาจำหน่ายที่ตลาดบ้านยวน ขั้นที่ 3 การประเมินผลพบว่าผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทยวนหลายด้าน สำหรับภูมิปัญญาด้านอาหารที่เข้าร่วมงาน พบว่ามีความพึงพอใจมาก มีความสุข และมีรายได้จากการจำหน่ายอาหาร ขั้นที่ 4 การสะท้อนผลพบว่าตลาดบ้านยวนเป็นแหล่งเผยแพร่วัฒนธรรม ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้การดำเนินการตลาดเป็นไปด้วยดีและยั่งยืน
References
Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Victoria : Deakin University Press.
Krajangchom, S., & Champawan, S. (2014). Food Consumption for Longevity of Tai Yuan Elderly in Mae Chaem District, Chiang Mai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 2(2), 161-170. (In Thai)
National Statistical Office. (2011). Survey of Public opinion about Community and Local Products. Bangkok : Ministry of Information and Communication Technology. (In Thai)
Nillawan, D., & Kritsunthon, T. (2014). A Local wisdom transmission: A Case Study of Municipality Tambon Fa-ham, Muang Distric, ChiangMai Province. Bangkok : National Research Fund Office. (In Thai)
Promma, S. (2014). The Communication Model for Transferring Local Wisdom to Maintain Tenth Lunar Month Tradition as a Cultural Capital of Nakhon Sri Thammarat Province. Journal of Management Sciences, 1(2), 91-111. (In Thai)
Puchthonglang, P., & Namwongprom, A. (2013). Creative Economic Development Model of Lanna Lantern Manufacturers at Muang Sart Community in Muang District, Chiang Mai Province Journal of Community Development and Life Quality, 1(3), 129-139. (In Thai)
Puntien, S., Chantachon, S., & Koseyayothin, M. (2017). Thai Culinary Tourism Management Model Using the Creative Economy Concept in the Water Shed Provinces of the Central Region Research and Development. Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 9(3rd Supplementary(July)), 190-198. (In Thai)
Sitthikulkiat, S (2015, 8 September). Interview. (In Thai)