ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • Wilawan Srisawang มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.36

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ทางการเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรม ระดับวัฒนธรรม และวิเคราะห์วัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 116,292 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane ได้ 398.62 เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของข้อมูลจึงกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทำการคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป นำไปทดลองใช้และทดสอบค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} =3.26, S.D.=0.53) และระดับวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=3.26, S.D.=0.53) เช่นกัน สำหรับวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับปัจจัยที่ศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุดที่ถูกเลือก คือ ปัจจัยด้านความโน้มเอียงมีต่อโครงสร้างทางการปกครอง (X1) ปัจจัยด้านความโน้มเอียงของบุคคลที่มีต่อกิจกรรมทางการเมือง (X3) และปัจจัยด้านการได้รับผลประโยชน์ (X4) และส่งผลทางบวกต่อวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีค่าเท่ากับ 0.21, 0.19 และ 0.09 ตามลำดับ เขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบได้คือ

            =1.52+0.21(X1)+0.19(X3)+0.09(X4)

References

Almond, G. A., & Powell, B. G. (1966). Comparative Politics : A Development Approach. Boston : Little, Brown and Company.
Alomind, G. A., & Verba, S. (1965). The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy inFive Nations. Boston : Little Brown and Company.
Chanthaphan, R. (2008). Thai society and politics based on the democratic participatory upon good governance principles. Bangkok : Thonburi Rajabhat University. (In Thai)
Cronbach, J. L. (1984). Essential of Psychological Testing (3rded). New York : Haper and Row.
Khantikun, P. (2010). Political participation patterns of people in Dusit district, Bangkok. Research report. Bangkok : Suan Sunandha Rajabhat University. (In Thai)
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York : McGraw-Hall Book.
Local Administration Department, Ministry of Interior. (2016). Population data Mueang Chachoengsao. Chachoengsao : Local Administration Department, Ministry of Interior. (In Thai)
McClosky, H. (1968). Political inquiry: The nature and uses of survey research. London : The Macmillan.
SriMahawaro, W. (2011). Thai politics, system or people: Cultural development and political participation of people. Retrieved August 2, 2016, from https://kpi2.kpi.ac.th/wiki/ index.php/ (In Thai)
Thamrongthanyawong, S. (2013). Public Policy: Concepts, Analysis and Processes (14th ed.). Bangkok : Sema Tham printing. (In Thai)
Verba, S., Nie, N. H., & Kim Jae-On. (1978). Participation and Political Equality: A Seven Nation Comparison. London : Cambridge University Press.
Walter, A. R. (1975). Political Culture. London : Praeger Publishers.
Wongratana, C. (2007). Techniques for statistical use for research. Bangkok : Srinakharinwirot University Prasarnmit. (In Thai)
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

How to Cite

Srisawang, W. (2019). ปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(2), 191–202. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.36