การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • Supawadee Wisuwan มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.33

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, สมรรถนะครูการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูการศึกษาพิเศษ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูการศึกษาพิเศษ ผู้ให้ข้อมูลเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ทางด้านการศึกษาพิเศษ และเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ทำการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยกำหนดค่าเฉลี่ยด้านความรู้ ด้านทักษะ ที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุด 2 ลำดับแรก ด้านเจตคติและคุณลักษณะ นำมาพัฒนาทั้ง 5 รายการ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ ศึกษาแนวคิด หลักการทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง นำมาเป็นองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ผู้ให้ข้อมูลประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน และด้านการศึกษาพิเศษ จำนวน 5 คน และนำไปทดลองใช้ (Try out) กับนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 จำนวน 21 ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ กับนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ สาขาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 จำนวน 18 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยใช้วิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษและหน่วยการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบเชิงสถานการณ์ แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้ แบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะ และแบบประเมินสมรรถนะด้านเจตคติและคุณลักษณะ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเป็นระดับสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติและคุณลักษณะ โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ มีชื่อเรียกว่า “LC-3R Model” ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการให้ประสบการณ์ (Learning experience stage : L) 2) ขั้นการใคร่ครวญด้วยคำถามสะท้อนคิด (Critical reflection stage : C) 3) ขั้นการแลกเปลี่ยนมุมมอง (Rational discourse stage : R) 4) ขั้นการสร้างสมรรถนะใหม่ (Reintegration stage : (R) 5) ขั้นการสะท้อนคิดต่อการปรับเปลี่ยน (Perspective Reflection stage : (R) และค่าความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก และผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ หลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน สมรรถนะด้านความรู้ อยู่ในระดับชำนาญ สมรรถนะด้านทักษะ อยู่ในระดับชำนาญ และสมรรถนะด้านเจตคติและคุณลักษณะ อยู่ในระดับเชี่ยวชาญ

References

a-chieve social enterprise. (2017). Transformative learning in Classroom. Retrived February 25, 2019, from Available : https://www.a-chieve.org/news/1159/ (In Thai)
Gravett, S. (2002). Transformative learning through action research: A case study from South Africa. Adult Education Research Conference. Retrieved April 4, 2019, from https://scholar.google.co.th/scholar?hl=th&as_sdt=0%2C5&q=
Hodge, S. (2011). Learning to manage: Transformative outcomes of competency-based training. Australian Journal of Adult Learning, 51(3), 498-517.
Jetchamnongnuch, W. et al. (2011). Professional Standards for Special Education. Bangkok : Secretariat Office of the Teachers Council of Thailand. (In Thai)
_______. (2017). Professional Standards for Special Education. Journal of Research Methodology, 30(2), 161-186. (In Thai)
Joyce, B. R., Weil, M, & Calhoun, E. (2009). Model of Teaching (9th ed). Boston : Pearson Allyn and Bacon Publishers.
_______. (2011). Model of Teaching (8th ed). Bonton America : Pearson Education, Inc.
Khamgeid,T. (2016). Competency and Inicator of teacher special education. Retrieved May 14, 2016, from https://www.gotoknow.org/posts/77760 (In Thai)
McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather Than for Intelligence. The American Psychologist, 28(1), 251-255.
Muenthaisong, S. (2018). Transformative learning for nursing students. College of Asian Scholars Journal, 8(Special edition), 150-163. (In Thai)
Office of the Promotion of Learning and Youth Quality Society. (2014). Raising the quality of Thai teachers in the 21st century. (In Thai)
Panich, W. (2015). Learn to change Transformative Learning. Bangkok : S. R. Printing. (In Thai)
Phahe, S. (2013). Teacher competency development in the 21st century. Documents for training, seminars, teachers and educational personnel. Phrae : Primary Education Service Area, Phrae District 1-2. (In Thai)
Puranan, S., et al. (2016). Transformative learning and humanized educare development of teacher in the 21th century. Journal of Education, Prince of Songkla University Pattani Campus, 27(1), 1-14. (In Thai)
Rassametummachot, S. (2008). Guidelines for human potential development as well Competency Based Learning. Bangkok : HR Center. (In Thai)
Suttinakorn, W. (2018). Tranformative Learning and Action Research. Bangkok : Siam Paritud. (In Thai)
Taylor, E. W. (1998). The Theory and Practice of Transformative Learning : A Critical Review. ERIC Clearinghouse on Adult, Career and Vocational Education.
Tirkana, S. (2005). Social science research methods: guidelines for practice (5th ed.). Bangkok : Printing of Chulalongkorn University. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

How to Cite

Wisuwan, S. (2019). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(2), 153–160. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.33