การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ทศพร พีสะระ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.51

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, สมรรถนะหลัก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุน 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะหลักสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน และ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะหลักสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน จากประชากรที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 แห่ง ซึ่งวิธีดำเนินการวิจัยและแสดงผลการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ

            ขั้นตอนที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยไม่อิงสัดสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลทั่วไปโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ และวิเคราะห์สภาพความคาดหวังและความเป็นจริงโดยวิธี priority need index (PNImodified) พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 3) ด้านการบริการที่ดี 4) ด้านการทำงานเป็นทีม และ 5) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม

            ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหลัก โดยการสร้างโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ด้วยแบบประเมินความเหมาะสม พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าทุกองค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} =3.60-4.80, S.D.=0.44-0.83)

            ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหลัก โดยนำหลักสูตรฝึกอบรมไปทดลองใช้กับบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำนวน 40 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการวิจัยกึ่งทดลอง กำหนดแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง รวม 2 วัน จำนวน 13 ชั่วโมง พบว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) ด้านการบริการที่ดี 3) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรมและจริยธรรม และ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม หลังการทดลองกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจจากการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.52, S.D.=0.46)

References

Buckman, R.H. (2004). Bio;domg a knowledge-driven organization. New York : McGrew-Hill.

Deeudom, S. (2015). The development of an online training package for developing the ompetencies of academic support personnel at rajamangala university of technology isan. Doctor of Philosophy Degree Human resources development, Ramkhamhaeng University, Bangkok. (In Thai)

Delahaye, B. L. (2005). Human resource development: Adult learning and knowledge management (2nd ed.). Queensland, Australia : John Wiley & Son.

Kanjanawasee, S. et al. (2016). Selecting appropriate statistics for research (7th ed). Bangkok : chulalongkorn university printing house. (In Thai)

Lim, G. S., Mathis, R. L., & Jackson, H. J. (2012). Human resource management and Asia edition. Lorong Chuan, Singapore : Cengage Learning.

Nakabun, C. (2015). The transformational leadership a attributes of supervisors for electronics industry business organization. Doctor of Philosophy Degree Human resources development, Ramkhamhaeng University, Bangkok. (In Thai)

Office of the Civil Service Commission. (2009). The Civil Servant System of the Future. Nonthaburi : author. (In Thai)

Office of the Higher Education Commission. (2012). Competency Dictionary Guide for Government Officials of the Office of the Higher Education Commission (OHEC). Bangkok : author. (In Thai)

Patrick, J. (1992). Training: Research and Practice. London : Academic Press.

Saenthong, N. (2017). Did you know Competency (3rd ed.). Bangkok : HR Center. (In Thai)

Smithikrai, C. (2013). Personnel training in organizations. (8th ed). Bangkok : Chulalongkorn university printing. (In Thai)

Suriyawong, S. et al. (2007). Educational Research and Statistics. (2nd ed). Bangkok : Academic Promotion Cenrte Publishing. (In Thai)

Swanson, R. A., & Holton, E. F., III. (2009). Foundations of human resource development (2nd ed.). San Francisco : Berrett-Koehler.

Tannukit, P. (2013). The development of competency training program for first-line managers at hospitals under the jurisdiction of the medical service department, Bangkok metropolis administration. A Thesis for Doctor of Philosophy Degree Human resources development, Ramkhamhaeng University, Bangkok. (In Thai)

Watson, S., & Harmel-Law, A. (2010). Exploring the contribution of workplace learning to an HRD strategy in the Scottish legal profession. Journal of European Industrial Training, 34(1), 7-22.

Yaemtup, W. (2015). Developing professional competency in security personnel. Doctor of Philosophy Degree Human resources development, Ramkhamhaeng University, Bangkok. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

พีสะระ ท. (2019). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(3), 137–149. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.51