พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำ ในเขตเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.52คำสำคัญ:
สังคมคาร์บอนต่ำ, สภาวะโลกร้อน, ก๊าซเรือนกระจก, พฤติกรรมการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมและประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการอุปโภคบริโภค และการใช้พลังงานในพื้นที่เทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,193 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power 3.0.10 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 ครัวเรือน เพื่อความเหมาะสมจึงกำหนดกลุ่มตัวอย่าง 120 ครัวเรือน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยหลักความน่าจะเป็น โดยเลือกวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล เปรียบเทียบกับการวิเคราะห์การกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากสมการแอลโลเมตรี ผลการวิจัยพบว่า ได้ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 2,099,295.75 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และปริมาณการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากต้นไม้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเท่ากับ 37,098.60 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี แสดงให้เห็นว่าการจัดเก็บก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบชีวมวลของต้นไม้ที่ไม่เกิดเองตามธรรมชาติ ไม่เพียงพอ ที่จะดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากการอุปโภคบริโภคและการใช้พลังงาน ดังนั้นประชาชน ควรปรับพฤติกรรมให้มีส่วนร่วมลดการอุปโภคบริโภคลดการใช้พลังงานและเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะก๊าซเรือนกระจกนำไปสู่สภาวะโลกร้อน
References
Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155-159.
IPCC. (2007). Synthesis Report. Contribution of Working Groups I, II and III to the Fourth Assessment Report of the intergovernmental Panel on Climate Change. Switzerland : Geneve.
Kut Chik Subdistrict Municipality. (2017). Population Registration Database October, 21, 2017. Unpublished manuscript. (In Thai)
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). National Economic and Social Development Plan. Retrieved May 25, 2019, from http://www.nesdb.go.th/ewt_ w3c/ ewt_dl_link.php?nid=6422 (In Thai)
Pleerux, N. (2012). Mapping carbon dioxide emissions from human activities, case studies, municipalities Happy Muang, Chonburi. KKU Research Journal, 17(6), 895-910. (In Thai)
Tan, S., Yang, J., & Yan, J. (2015). Development of the Low-carbon City Indicator (LCCI) Framework. Energy Procardia, 75(8), 2516-2522.
Tan, S., Yang, J., Yan, J., Lee, C., Hashim, H., & Chen, B. (2017). A holistic low carbon city indicator framework for sustainable development. Applied Energy, 185(2), 1919-1930.
THAILAND GREENHOUSE GAS MANAGEMENT ORGANIZATION (PUBLIC ORGANIZATION). (2015). Thailand Voluntary Emission Reduction Program Reference Manual. Forestry and Agriculture Sector, 22-29. (In Thai)