แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.57คำสำคัญ:
ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์, เจตคติต่อวิทยาศาสตร์, มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยทำทั้งหมด 3 วงรอบ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 38 คน ที่ได้จากวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบสำรวจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ผังมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยวิธีสามเส้า (Method & resource triangulations) ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ควรปฏิบัติดังนี้ 1) ขั้นกำหนดปัญหา ผู้วิจัยนำเข้าสู่บทเรียนด้วยวิดีทัศน์สถานการณ์ข่าวที่ใกล้ตัวนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจนักเรียน และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ได้ 2) ขั้นจัดกลุ่มข้อโต้แย้ง ผู้วิจัยควรชี้แนะแนวทางในการกำหนดประเด็นสำหรับสืบค้นข้อมูล 3) ขั้นสืบค้นข้อมูล ควรมีแนวทางและแหล่งสืบค้นข้อมูลที่นำไปสู่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 4) ขั้นโต้แย้ง ควรมีการจัดให้อยู่ในลักษณะที่น่าสนใจ 5) ขั้นตัดสินใจ ผู้วิจัยควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกแนวทางแก้ปัญหา และ 6) ขั้นสรุปผล ควรให้นักเรียนได้สรุปผลและทำให้นักเรียนเห็นถึงแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ได้ หลังจัดการเรียนรู้ผู้วิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สามารถปรับเปลี่ยนมโนทัศน์เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด ที่อยู่ในกลุ่มมโนทัศน์ที่มีความสอดคล้องและบางส่วนคลาดเคลื่อน (PU+MU) ไปสู่กลุ่มมโนทัศน์แบบไม่สมบูรณ์ (PU) ได้ และในเรื่องระบบภูมิคุ้มกันนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนมโนทัศน์จากกลุ่มไม่มีมโนทัศน์ (NU) ไปสู่กลุ่มมโนทัศน์ที่มีความสอดคล้องและบางส่วนคลาดเคลื่อน (PU+MU) ได้ และหลังจัดการเรียนรู้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ในด้านบทบาทของวิทยาศาสตร์ต่อสังคมหลังจัดการเรียนรู้ที่ระดับสูงสุด
References
Chamnanphet, N. (2017). Teaching through clay animation to develop digestive system conceptions of grade 10th students. A Thesis for Master of education in science education Naresuan University, Phitsanulok. (In Thai)
Chin, S. F., & Lim, H. L. (2016). Validation of an adapted instrument to measure students' attitude towards science. Asia-Pacific Forum on Science Learning & Teaching, 17(2), 1-28.
Dawson, V., & Carson, K. (2018). Introducing Argumentation About Climate Change Socioscientific Issues in a Disadvantaged School. Research in Science Education.
Hewson, M. G., & Hewson, P. W. (1984). Effect of instruction using students’ prior knowledge and conceptual change strategies on science learning. Journal of Research in Science Teaching, 20, 731-743.
Hewson, P. W., & A' B. Hewson, M. G. (1988). An appropriate conception of teaching science: A view from studies of science learning. Science Education, 72(5), 597-614.
Khotsopa, S. (2016). Comparisons of Effect of Learning Socioscientific Issues Using the Mixed Methods Based on the Problem-Based Learning Method and the 5E learning Cycle Approach on Argumentation and Critical Thinking Abilities of Mathayomsuksa 5 Students with Different Biology Learning Outcomes. CHOPHAYOM JOURNAL, 2(27), 113-126. (In Thai)
Kijkuakul, S. (2014). Scientific learning management: The guide for teachers in 21st century. Petchaboon : Chunladit printing Press. (In Thai)
Kural, M., & Kocakülah, S. M. (2016). Teaching for Hot Conceptual Change: Towards a New Model, Beyond the Cold and Warm Ones. European Journal of Education Studies, 2(8), 1-40.
Putman, S. M., & Rock, T. (2017). Action Research: Using Strategic Inquiry to Improve Teaching and Learning. California : SAGE Publication.
Roklang, A. (2013). The effect of teaching for conceptual change on force and laws of motion topics for students in mathayomsuaksa IV. A Thesis for Master of education in science education Naresuan University, Phitsanulok. (In Thai)
Rundgren, C. J., Eriksson, M., & Rundgren, S. N. C. (2016). Investigating the Intertwinement of Knowledge, Value, and Experience of Upper Secondary Students’ Argumentation Concerning Socioscientific Issues. Science & Education, 25(9-10), 1049-1071.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2012). Scientific measurement and evaluation. Bangkok : SE-Education. (In Thai)
Tyson, L. M., Venville, G. J., Harrison, A. L., & Treagust, D. F. (1997). A multidimensional framework for interpreting conceptual change events in the classroom. Science Education, 81, 387-404.
Zhou, G. (2010). Conceptual change in science: A process of argumentation. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 6(2), 101-110.